ดอลลาร์ด และมิลเลอร์
(Dollard and Miller) กล่าวว่า การเรียนรู้ประกอบด้วยสิ่งต่างๆดังนี้
1. แรงขับ
(Drive) เกิดขึ้นเมื่ออินทรีย์ (Organism) ขาดสมดุล เช่น ขาดอาหาร ขาดน้ำ ขาดการพักผ่อน
ภาวะเหล่านี้จะกระตุ้นให้อินทรีย์แสดงพฤติกรรมเพื่อปรับให้อินทรีย์อยู่ในสภาสมดุลอย่างเดิม
แรงขับมีอยู่ 2 ประเภทคือ
1.1 แรงขับพื้นฐาน (Primary Drive) เกิดเนื่องจากความต้องการที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิต
เป็นความต้องการทางร่างกายต่างๆ ที่เกิดขึ้น พร้อมๆกับการมีชีวิตของคน
1.2 แรงขับที่เกิดจากการเรียนรู้ (Secondary Drive) เกิดขึ้นภายหลังเป็นความต้องการทางสังคม
เช่น ความรัก ฐานะทางสังคม ความมั่นคงปลอดภัย
2. สิ่งเร้า
(stimulus) เป็นสิ่งที่กระตุ้นให้อินทรีย์แสดงกิจกรรมโต้ตอบออกมา
เป็นตัวกำหนดพฤติกรรมตอบสนองของร่างกาย
3. การตอบสนอง
(Response) เป็นพฤติกรรมหรือกิจกรรมที่อินทรีย์แสดงออกเมื่อมีสิ่งเร้าไปเร้า
4. การเสริมแรง
(Reinforcement) เป็นการทำให้สิ่งเร้าและการตอบสนองมีความสัมพันธ์กันมากยิ่งขึ้น
เช่น เมื่อนักเรียนทำเลขถูกก็เสริมแรงโดยให้รางวัล
การเสริมแรงนี้จะทำให้นักเรียนอยากเรียน(ทำเลข)ในคราวต่อไป
ชูชีพ อ่อนโคกสูง กล่าวว่า
การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้จะต้องมีองค์ประกอบพื้นฐานอย่างน้อยที่สุด 4 ประการด้วยกัน ดังนี้
1. แรงจูงใจ
(Motive) ในขณะที่มีชีวิตอยู่ ร่างกายย่อมมีความต้องการต่างๆ
เมื่อใดที่ร่างกายเกิดความต้องการหรือเกิดความไม่สมดุลขึ้น จะมีแรงขับ (Drive)
หรือแรงจูงใจ (Motive) เกิดขึ้นภายในอินทรีย์ผลักดันให้สิ่งที่หายไปนั้นมาให้ร่างกายอยู่ในภาวะพอดี
แรงจูงใจเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของการเรียนรู้
เพราะเป็นตัวจักรสำคัญหรือเป็นต้นตอที่แท้จริงของพฤติกรรม
2. สิ่งจูงใจ
(Incentive) สิ่งจูงใจเป็นสิ่งที่ลดความเครียด
และนำไปสู่ความพอใจ นักจิตวิทยาเชื่อว่า
สิ่งจูงใจจะเป็นศูนย์กลางหรือหัวใจของการเรียนรู้เขาถือว่าแรงจูงใจซึ่งถือว่าเป็นภาวะภายในของอินทรีย์และกิจกรรมต่างๆ
ล้วนเกิดขึ้นจากสิ่งจูงใจทั้งสิ้น
3. อุปสรรค (A
Barrier or Block) นับเป็นพื้นฐานอีกประการหนึ่งของการเรียนรู้
เพราะอุปสรรคหรือสิ่งกีดขวางย่อมทำให้เกิดปัญหา
การที่ผู้เรียนเกิดปัญหาจะทำให้ผู้เรียนพยายามทำซ้ำๆ
หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เพื่อที่จะฟันฝ่าอุปสรรคนั้นไปสู่เป้าหมายให้ได้
4. กิจกรรม (Activity)
กิจกรรมหรือการตอบสนองของอินทรีย์
เป็นส่วนที่จะทำให้เราทราบว่าใครเกิดการเรียนรู้หรือไม่เพียงใด ช้าหรือเร็วอย่างไร
และเป็นสิ่งที่ใช้อ้างอิง (Infer) ไปถึงความรู้สึกนึกคิดทางจิตใจที่ซ่อนเร้นอยู่
เราจะสังเกตเห็นว่าคนเรามักจะชอบประกอบกิจกรรมที่นำความสำเร็จ
หรือความพอใจมาให้ซ้ำๆอยู่เสมอ แม้ว่าจะไม่เจอปัญหาใหม่ๆ
ส่วนกิจกรรมหรือพฤติกรรมที่ไม่เคยนำความสำเร็จมาให้นั้นมักจะหลีกเลี่ยง
กมลรัตน์ หล้าสุวงษ์ (2524:133) ได้รวบรวมองค์ประกอบการเรียนรู้ของนักจิตวิทยาไว้ดังนี้
กาเย่ (Gagne) กล่าวว่าองค์ประกอบสำคัญที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้ประกอบด้วย
3 องค์ประกอบคือ
1. ผู้เรียน (The
learner) ซึ่งประกอบด้วยอวัยวะรับสัมผัส 5 ชนิด
(คือ หู ตา จมูก ลิ้น และกาย) ระบบประสาทส่วนกลาง (A central nervous
system) และกล้ามเนื้อ (Muscles)
2. สิ่งเร้า (Stimulus)
หรือสถานการณ์ต่างๆ(a stimulus situation) สิ่งเร้าหมายถึงสิ่งแวดล้อมต่างๆรอบตัวผู้เรียนสำหรับสถานการณ์ต่างๆที่เป็นสิ่งเร้าได้แก่
สถานการณ์หลายๆสถานะที่เกิดขึ้นรอบตัวผู้เรียน
3. การตอบสนอง (Response)
เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นเมื่อได้รับสิ่งเร้า เช่น น.ส.
สมศรีห่อริมฝีปาก เมื่อเห็นมะนาว ในที่นี้มะนาวเป็นสิ่งเร้า
การห่อปากคือการตอบสนองเพราะเรียนรู้ว่ามะนาวเปรี้ยว ฯลฯ
อัชรา
เอิบสุขสิริ(2556:) ได้รวบรวมองค์ประกอบการเรียนรู้ของสพรินทอลล์และและสพรินทอลล์ไว้ว่าการจัดการเรียนการสอนให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวจำเป็นต้องคำนึงถึงองค์ประกอบ
4 อย่างได้แก่
1. ลักษณะของผู้เรียนอันประกอบด้วยลักษณะทางกายภาพ
จิตใจ สติปัญญา จริยธรรมค่านิยม แรงจูงใจ พฤติกรรมส่วนตัว พฤติกรรมกลุ่ม
ความต้องการพิเศษ เพศ และวัฒนธรรมที่ติดตัวมา
2. ลักษณะของผู้สอนอันประกอบด้วยเจตคติต่อการเรียนรู้
เจตคติต่อผู้เรียน เจตคติต่อตนเอง และความเข้าใจในงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
3. กลยุทธ์ในการสอนอันประกอบด้วยการนำทฤษฎีการเรียนรู้มาปฏิบัติจริง
วิธีสอนและต้นแบบ วิธีสอนเฉพาะรายบุคคล แผนการสอน เทคนิคที่หลากหลาย
วินัยของผู้เรียน การใช้แบบทดสอบ
4. เนื้อหาวิชาอันประกอบด้วยโครงสร้างที่สำคัญ
แนวคิดพื้นฐานของเนื้อหาที่จะสอน ลำดับของเนื้อหา การเลือกเนื้อหาในการสอน
ระดับความสำคัญของเนื้อหาแต่ละส่วน ฯลฯ
สรุป
จากการศึกองค์ประกอบของการเรียนรู้สามารถนำมาสรุปได้ว่าการเรียนรู้นั้นจะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก
ได้แก่ ผู้เรียนมีความพร้อมในการเรียนรู้ ผู้สอนมีความพร้อมในการจัดการเรียนรู้
จัดเทคนิคและเนื้อหาให้เหมาะกับผู้เรียนเพื่อนเป็นแรงจูงใจให้กับผู้เรียนและสร้างสิ่งสูงใจเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความพอใจที่จะเรียนรู้มากขึ้น
โดยใช้สิ่งเร้าที่อยู่รอบๆตัวผู้เรียน
การตอบสนองหรือการจัดกิจกรรมให้กับผู้เรียนเพื่อเป็นการตอบสนองต่อสิ่งเร้า
และการเสริมแรงเพื่อทำให้สิ่งเร้าและการตอบสนองมีความสัมพันธ์กันมากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ยังจะต้องมีการสร้างอุปสรรคให้กับผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนได้รู้จักการพยามยามและสนใจที่จะทำซ้ำๆเพื่อที่จะผ่านอุปสรรคไปให้ได้
ที่มา
กมลรัตน์ หล้าสุวงษ์.(2524).จิตวิทยาการศึกษา.กรุงเทพมหานคร:มหามงกุฏราชวิทยาลัย.
อัชรา เอิบสุขสิริ.(2556).จิตวิยาสำหรับครู.กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อารี พันธ์มณี.(2534).จิตวิทยาการเรียนการสอน.กรุงเทพฯ:บริษัท ต้นอ้อ จำกัด.
กมลรัตน์ หล้าสุวงษ์.(2524).จิตวิทยาการศึกษา.กรุงเทพมหานคร:มหามงกุฏราชวิทยาลัย.
อัชรา เอิบสุขสิริ.(2556).จิตวิยาสำหรับครู.กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อารี พันธ์มณี.(2534).จิตวิทยาการเรียนการสอน.กรุงเทพฯ:บริษัท ต้นอ้อ จำกัด.
Easy "water hack" burns 2 lbs OVERNIGHT
ตอบลบMore than 160,000 women and men are using a simple and SECRET "liquids hack" to lose 2 lbs every night as they sleep.
It's simple and it works every time.
Just follow these easy step:
1) Hold a drinking glass and fill it up half the way
2) Then use this weight loss HACK
you'll be 2 lbs thinner the next day!