วันจันทร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบ TGT (Teams – Games -Tournaments)

     มีนกร (https://www.gotoknow.org/posts/401180 )ได้รวบรวมกระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ TGT (Team GamesTournaments) ว่าTGT เป็นกระบวนการเรียนที่เป็นการนำเสนอเนื้อหาหรือบทเรียนใหม่  รูปแบบการนำเสนออาจจะเป็นการบรรยาย  อภิปราย  กรณีศึกษาหรืออาจจะมีสื่อการเรียนรู้อื่นๆ  ประกอบด้วยก็ได้  เทคนิค TGT  จะแตกต่างจากเทคนิคอื่นๆ  ตรงที่ผู้สอนต้องเน้นให้ผู้เรียนทราบว่าผู้เรียนต้องให้ความสนใจมากในเนื้อหาสาระ  เพราะจะช่วยให้ทีมประสบความสำเร็จในการแข่งขัน  วิธีนี้เหมาะสมกับการเรียนรู้ในวิชาพื้นฐานที่สามารถถามตอบที่มีคำตอบที่แน่นนอนตายตัว  แต่ไม่เหมาะกับบางวิชา
     ประภัสรา โคตะขุน (https://sites.google.com/site/prapasara/11-2) ได้รวบรามการจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือตามรูปแบบ TGT เป็นการเรียนแบบร่วมมือกันแข่งขันทำกิจกรรม โดยมีขั้นตอนการจัดกิจกรรมดังนี้
      ขั้นที่ 1 ครูทบทวนบทเรียนที่เรียนมาแล้วครั้งก่อน ด้วยการซักถามและอธิบาย ตอบข้อสงสัยของนักเรียน  
      ขั้นที่ 2 จัดกลุ่มแบบคละกัน (
Home Team) กลุ่ม 3-4 คน   
      ขั้นที่ 3 แต่ละทีมศึกษาหัวข้อที่เรียนในวันนี้จากแบบฝึก (
Worksheet And Answer Sheet) นัก เรียนแต่ละคนทำหน้าที่และปฏิบัติตามกติกาของ Cooperative Learning เช่น เป็นผู้จดบันทึก ผู้คำนวณ ผู้สนับสนุน เมื่อสมาชิกทุกคนเข้าใจและสามารถทำแบบฝึกหัดได้ถูกต้องทุกข้อ ทีมจะเริ่มทำการแข่งขันตอบปัญหา     
      ขั้นที่ 4 การแข่งขันตอบปัญหา (
Academic Games Tournament)               
            4.1 ครูทำหน้าที่เป็นผู้จัดการห้องเรียน โดยแบ่งตามความสามารถของนักเรียน เช่น
                โต๊ะที่ 1 เป็นโต๊ะแข่งขันสำหรับนักเรียนที่มีความสามารถเก่งมาก                   
                โต๊ะที่ 2 และ 3 เป็นโต๊ะแข่งขันสำหรับนักเรียนที่มีความสามารถปานกลาง
                โต๊ะที่ 4 เป็นโต๊ะที่แข่งขันสำหรับนักเรียนที่มีความสามารถอ่อน          
            4.2 ครูแจกซองคำถามจำนวน 10 คำถามให้ทุกโต๊ะ (เป็นคำถามเหมือนกัน)              
            4.3 นักเรียนเปลี่ยนกันหยิบซองคำถามทีละ 1 ซอง (1 คำถาม) แล้ววางลงกลางโต๊ะ
            4.4 นักเรียน 3 คนที่เหลือคำนวณหาคำตอบ จากคำถามที่ อ่าน              
            4.5 เขียนคำตอบลงในกระดาษคำตอบที่แต่ละคนมีอยู่              
            4.6 นักเรียนคนที่ทำหน้าที่อ่านคำถามจะเป็นคนให้คะแนน โดยมีกติกาการให้คะแนน ดังนี้
                4.6.1 ผู้ตอบถูกเป็นคนแรก จะได้ 2 คะแนน         
                4.6.2 ผู้ตอบถูกคนต่อไป จะได้คนละ 1 คะแนน              
                4.6.3 ถ้าตอบผิด ให้ 0 คะแนน               
            4.7 ทำขั้นตอนที่ 4.3 - 4.5 โดยผลัดกันอ่านคำถามจนกว่าคำถามจะหมด          
            4.8 นักเรียนทุกคนรวมคะแนนของตัวเอง โดยที่ทุกคนควรได้ตอบคำถามจำนวนเท่าๆ กัน จัดลำดับของคะแนนที่ได้ ซึ่งกำหนดโบนัสของแต่ละโต๊ะดังนี้โบนัส ผู้ที่ได้คะแนนสูงสุดที่ 1ประจำโต๊ะแต่ละโต๊ะ จะได้โบนัส 10 แต้ม ผู้ที่ได้คะแนนรองที่ 2 ประจำโต๊ะแต่ละโต๊ะ จะได้โบนัส 8 แต้ม ผู้ที่ได้คะแนนรองที่ 3 ประจำโต๊ะแต่ละโต๊ะ จะได้โบนัส 6 แต้ม ผู้ที่ได้คะแนนน้อยที่สุด ประจำโต๊ะแต่ละโต๊ะ จะได้โบนัส 4 แต้ม ขั้นที่ 5นักเรียนกลับมากลุ่มเดิม (
Home Team) รวมแต้มโบนัสของทุกคน ทีมใดที่มีแต้มโบนัสสูงสุด จะให้รางวัลหรือติดประกาศไว้ในมุมข่าวของห้อง
 เทคนิค
TGT (Team - Games – Tournament)
      
เทคนิคการจัดกิจกรรม TGT เป็นเทคนิครูปแบบหนึ่งในการสอนแบบร่วมมือและมีลักษณะของกิจกรรมคล้ายกันกับ STAD แต่เพิ่มเกมและการแข่งขันเข้ามาด้วย เหมาะสำหรับการจัดการเรียนการสอนในจุดประสงค์ที่มีคำตอบถูกต้องเพียงคำตอบเดียว
องค์ประกอบ 4 ประการ ของ
TGT
     
1. การสอน เป็นการนำเสนอความคิดรวบยอดใหม่หรือบทเรียนใหม่ อาจเป็นการสอนตรงหรือจัดในรูปแบบของการอภิปราย หรือกลุ่มศึกษา
    
2. การจัดทีม เป็นขั้นตอนการจัดกลุ่ม หรือจัดทีมของนักเรียน โดยจัดให้คละกันทั้งเพศ และความสามารถและทีมจะต้องช่วยกันและกัน ในการเตรียมความพร้อมและความเข้มแข็งให้สมาชิกทุกคน
    
3. การแข่งขัน การแข่งขันมักจัดในช่วงท้ายสัปดาห์หรือท้ายบทเรียน ซึ่งจะใช้คำถามเกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียนมาในข้อ 1 และผ่านการเตรียมความพร้อมของทีมมาแล้วการจัดโต๊ะแข่งขันจะมีหลายโต๊ะ แต่ละโต๊ะจะมีตัวแทนของกลุ่ม/ทีม แต่ละทีมมาร่วมแข่งขัน ทุกโต๊ะการแข่งขันควรเริ่มดำเนินการเพื่อนำไปเทียบหาค่าคะแนนโบนัส
   
4. การยอมรับความสำเร็จของทีม ให้นำคะแนนโบนัสของแต่ละคนในทีมมารวมกันเป็นคะแนนของทีม และหาค่าเฉลี่ยทีมที่มีค่าสูงสุด จะได้รับการยอมรับให้เป็นทีมชนะเลิศ โดยอาจเรียกชื่อทีมที่ได้ชนะเลิศ กับรองลงมา โดยใช้ชื่อเก๋ ๆ ก็ได้ หรืออาจให้นักเรียนตั้งชื่อเอง และควรประกาศผลการแข่งขันในที่สาธารณะด้วย
ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
        1. ครูสอนความคิดรวบยอดใหม่ หรือบทเรียนใหม่ โดยอาจใช้ใบความรู้ให้นักเรียนได้ศึกษา หรือใช้กิจกรรมการศึกษาหาความรู้รูปแบบอื่นตามที่ครูเห็นว่าเหมาะสม
       
2. แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม ๆ ละ 4
5 คน เพื่อปฏิบัติตามใบงาน
       
3. นักเรียนแต่ละกลุ่มเตรียมความพร้อมให้กับสมาชิกในกลุ่มทุกคน เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในบทเรียนและพร้อมที่จะเข้าสู่สนามแข่งขัน 
       
4. แต่ละกลุ่มประเมินความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาของสมาชิกในกลุ่ม โดยอาจตั้งคำถามขึ้นมาเองและให้สมาชิกกลุ่มทดลองตอบคำถาม
       
5. สมาชิกกลุ่มช่วยกันอธิบายเพิ่มเติมในจุดที่บางคนยังไม่เข้าใจ
        6. ครูจัดให้มีการแข่งขัน โดยใช้คำถามตามเนื้อหาในบทเรียน
      
7. จัดการแข่งขันเป็นโต๊ะ โดยแต่ละโต๊ะจะมีตัวแทนของทีมต่าง ๆ ร่วมแข่งขัน อาจให้แต่ละทีมส่ง ชื่อผู้แข่งขันแต่ละโต๊ะมาก่อนและเป็นความลับ
        8. ทุกโต๊ะแข่งขันจะเริ่มดำเนินการแข่งขันพร้อมๆกันโดยกำหนดเวลาให้ 
      
9. เมื่อการแข่งขันจบลง ให้แต่ละโต๊ะจัดลำดับผลการแข่งขัน และให้หาค่าคะแนนโบนัส 
     
10. ผู้เข้าร่วมแข่งขันกลับไปเข้ากลุ่มเดิมของตนพร้อมด้วยนำคะแนนโบนัสไปด้วย
      11. นักเรียนแต่ละกลุ่มนำคะแนนโบนัสของแต่ละคนมารวมกันเป็นคะแนนของทีม หาค่าเฉลี่ย ที่ที่ได้ค่าเฉลี่ย (อาจใช้คะแนนโบนัสรวมกันก็ได้) สูงสุด จะได้รับการยอมรับเป็นทีมชนะเลิศและรองลงไป
      12. ให้ตั้งชื่อทีมชนะเลิศ และรองลงมา
     
13. ครูประกาศผลการแข่งขันในที่สาธารณะ เช่น ปิดประกาศที่บอร์ด ลงข่าวหนังสือพิมพ์หรือประกาศหน้าเสาธง
     เบญจ ใจการุณ
(
https://www.gotoknow.org/posts/303382)ได้ทำการรวบรวมเทคนิคการสอนTGT ไว้ดังนี้ 
บทบาทของครู
     
ในด้านเทคนิคการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ โดยใช้แบบ 
TGT การเรียนการสอนแบบ TGT นั้นป็นการสร้างแรงจูงใจให้นักเรียนสนใจมากขึ้น  มีองค์ประกอบ  3  ประการ  คือ
       
1. ทีม (
Teams) แบ่งนักเรียนออกเป็น 4-5 ทีม แต่ละทีมจะมีนักเรียนหลากหลาย คือ จะมีนักเรียนที่มีทั้งผลสัมฤทธิ์สูง ปานกลาง ต่ำ และเพศคละกัน สมาชิกจะอยู่ในทีมอย่างถาวร แต่ละทีมจะได้รับการฝึกฝนเหมือนกัน  และในทีมจะช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการทบทวนสิ่งที่ครูสอน
       
2. เกม  (
Games)  เกมที่ใช้เป็นการฝึกทักษะ  ซึ่งเน้นที่เนื้อหา หลักสูตร นักเรียนจะได้ตอบปัญหา  เกมบัตรคำ  ซึ่งเน้นกฎเกณฑ์พื้นฐานลำดับก่อน หลัง การแข่งขันที่ยึดเนื้อหาวิชาเป็นหลัก
        
3. การแข่งขัน (
Tournaments) การฝึกในทีมจะมีการแข่งขัน อาจมีอาทิตย์ละ  12  ครั้ง  โดยดูจากผลงาน  นักเรียนจะได้เปรียบเทียบคะแนนของแต่ละทีม ว่าทีมใดคะแนนสูงสุด  ปานกลาง  ต่ำ  คะแนนนี้จะแยกเป็นคะแนนสมาชิกแต่ละคนด้วย
ประเภทของเกม
         
1. เกมพัฒนาการ เป็นเกมแนะนำให้ผู้เล่นได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ
        
2. เกมยุทธวิธี เป็นเกมที่ต้องแก้ปัญหาให้ผู้เล่นสร้างแผนการขึ้นเพื่อจะได้บรรลุจุดประสงค์ 
         3. เกมเสริมแรง เป็นเกมที่ช่วยให้ผู้เล่นได้เรียนรู้ความรู้ต่าง ๆ  และเพิ่มพูนทักษะห้สามารถนำความคิดรวบยอดไปใช้ประโยชน์ได้
        หลักในการนำเกมมาใช้ในกิจกรรมกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ จะใช้เกมได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ครูควรมีหลักดังนี้
       
1.เกมที่นำมาสอน ควรมีลักษณะดังต่อไปนี้         
             
1.ใช้เครื่องมือบ่อย             
             
2.ไม่ต้องเตรียมอะไรมาก         
             
3.ควรเป็นการเล่นที่ส่งเสริมทักษะที่สอน         
             
4.นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วม       
             
5.การเล่นควรเหมาะสมกับวัยของเด็ก         
             6.การปฏิบัติตามกฎกติกา       
            
7.การมีน้ำใจนักกีฬา มารยาท และความยุติธรรม
         2.ผู้สอนต้องสนุกสนานกับการเล่นด้วย
        
3.การเล่นแต่ละครั้งต้องคำนึงถึง
        
4.ใช้เวลาในการอธิบายน้อยที่สุดแต่เข้าใจ เช่น วิธีเล่นเกม หน้าที่ของแต่ละคนพอสังเขป
         5.ควรให้นักเรียนกลุ่มหนึ่งมาแสดงให้เพื่อน ๆ ดูก่อนเพื่อความเข้าใช้
         6.การเล่นแต่ละครั้งอย่าใช้เวลานานเกินไป ประมาณ 10
15 นาที
         7.การเล่น ถ้านักเรียนมากเกินไป ควรแบ่งกลุ่ม
         8.เกมที่เล่นต้องดึงดูดความสนใจ สนุกสนาน และท้าทายความสามารถของผู้เล่น
         
9.เกมนั้นจะต้องสามารถทำให้การเรียนการสอนไปถึงเป้าหมายที่ต้องการได้
สรุป    
     
 จาการศึกษารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบ TGT  (Teams – Games -Tournaments)พบว่าการจัดการเรียนTGT เป็นกระบวนการเรียนที่เป็นการนำเสนอเนื้อหาหรือบทเรียนใหม่  รูปแบบการนำเสนอมีลักษณะเป็นการบรรยาย อภิปราย อาจจะมีสื่อการเรียนรู้อื่นๆ ประกอบด้วยก็ได้  เทคนิค TGT จะแตกต่างจากเทคนิคอื่นๆ ตรงที่ผู้สอนต้องเน้นให้ผู้เรียนทราบว่าผู้เรียนนั้นจะต้องให้ความสนใจมากในเนื้อหาสาระ เพราะจะช่วยให้ทีมประสบความสำเร็จในการแข่งขัน วิธีนี้เหมาะสมกับการเรียนรู้ในวิชาพื้นฐานที่สามารถถามตอบที่มีคำตอบที่แน่นนอนตายตัว แต่ไม่เหมาะกับบางวิชา และเทคนิคการจัดกิจกรรม TGT ยังเป็นเทคนิครูปแบบหนึ่งในการสอนแบบร่วมมือและมีลักษณะของกิจกรรมคล้ายกันกับ STAD แต่เพิ่มเกมและการแข่งขันเข้ามาด้วย เหมาะสำหรับการจัดการเรียนการสอนในจุดประสงค์ที่มีคำตอบถูกต้องเพียงคำตอบเดียว โดยมีขั้นตอนการจัดกิจกรรม ดังนี้
        1. ครูสอนความคิดรวบยอดใหม่ หรือบทเรียนใหม่ โดยอาจใช้ใบความรู้ให้นักเรียนได้ศึกษา หรือใช้กิจกรรมการศึกษาหาความรู้รูปแบบอื่นตามที่ครูเห็นว่าเหมาะสม
      
2. แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม ๆ ละ 4
5 คน เพื่อปฏิบัติตามใบงาน
       3. นักเรียนแต่ละกลุ่มเตรียมความพร้อมให้กับสมาชิกในกลุ่มทุกคน เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในบทเรียนและพร้อมที่จะเข้าสู่สนามแข่งขัน 
     
4. แต่ละกลุ่มประเมินความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาของสมาชิกในกลุ่ม โดยอาจตั้งคำถามขึ้นมาเองและให้สมาชิกกลุ่มทดลองตอบคำถาม
     
5. สมาชิกกลุ่มช่วยกันอธิบายเพิ่มเติมในจุดที่บางคนยังไม่เข้าใจ 
     
6. ครูจัดให้มีการแข่งขัน โดยใช้คำถามตามเนื้อหาในบทเรียน
    
 7. จัดการแข่งขันเป็นโต๊ะ โดยแต่ละโต๊ะจะมีตัวแทนของทีมต่าง ๆ ร่วมแข่งขัน อาจให้แต่ละทีมส่งชื่อผู้แข่งขันแต่ละโต๊ะมาก่อนและเป็นความลับ 
    
 8. ทุกโต๊ะแข่งขันจะเริ่มดำเนินการแข่งขันพร้อมๆกันโดยกำหนดเวลาให้ 
     
9. เมื่อการแข่งขันจบลง ให้แต่ละโต๊ะจัดลำดับผลการแข่งขัน และให้หาค่าคะแนนโบนัส 
    
10. ผู้เข้าร่วมแข่งขันกลับไปเข้ากลุ่มเดิมของตนพร้อมด้วยนำคะแนนโบนัสไปด้วย
    
11. นักเรียนแต่ละกลุ่มนำคะแนนโบนัสของแต่ละคนมารวมกันเป็นคะแนนของทีม หาค่าเฉลี่ย ที่ที่ได้ค่าเฉลี่ย (อาจใช้คะแนนโบนัสรวมกันก็ได้) สูงสุด จะได้รับการยอมรับเป็นทีมชนะเลิศและรองลงไป 
    
12. ให้ตั้งชื่อทีมชนะเลิศ และรองลงมา
    
13. ครูประกาศผลการแข่งขันในที่สาธารณะ เช่น ปิดประกาศที่บอร์ด ลงข่าวหนังสือพิมพ์หรือประกาศหน้าเสาธง
องค์ประกอบ 4 ประการ ของ
TGT
     
1. การสอน เป็นการนำเสนอความคิดรวบยอดใหม่หรือบทเรียนใหม่
     
2. การจัดทีม เป็นขั้นตอนการจัดกลุ่ม หรือจัดทีมของนักเรียน โดยจัดนักเรียนคละกัน
     
3. การแข่งขัน การแข่งขันมักจัดในช่วงท้ายสัปดาห์หรือท้ายบทเรียน
     
4. การยอมรับความสำเร็จของทีม ให้นำคะแนนโบนัสของแต่ละคนในทีมมารวมกันเป็นคะแนนของทีม และหาค่าเฉลี่ยทีมที่มีค่าสูงสุด จะได้รับการยอมรับให้เป็นทีมชนะเลิศ  และควรประกาศผลการแข่งขันในที่สาธารณะด้วย
ประเภทของเกม
      
1. เกมพัฒนาการ เป็นเกมแนะนำให้ผู้เล่นได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ
      
2. เกมยุทธวิธี เป็นเกมที่ต้องแก้ปัญหาให้ผู้เล่นสร้างแผนการขึ้นเพื่อจะได้บรรลุจุดประสงค์
      
3. เกมเสริมแรง เป็นเกมที่ช่วยให้ผู้เล่นได้เรียนรู้ความรู้ต่าง ๆ  และเพิ่มพูนทักษะให้สามารถนำความคิดรวบยอดไปใช้ประโยชน์ได้
ที่มา
เบญจ ใจการุณ.[online] https://www.gotoknow.org/posts/303382. เทคนิคการสอน
        แบบ
 TGT.
สืบค้นเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2558.

ประภัสรา โคตะขุน.[online] https://sites.google.com/site/prapasara/11-2. การจัดการเรียนการ
        สอนแบบ
TGT  (Teams – Games -Tournaments). สืบค้นเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม
         2558.      

มีนกร.[online] https://www.gotoknow.org/posts/401180 . การเรียนรู้แบบร่วมมือคืออะไร.สืบค้น
        เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2558.

2 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ22 กันยายน 2559 เวลา 08:15

    ประโยชน์ของเทคนิคนี้คืออะไรค่ะ

    ตอบลบ
  2. As claimed by Stanford Medical, It's really the ONLY reason this country's women live 10 years longer and weigh on average 19 KG lighter than us.

    (And really, it is not related to genetics or some secret-exercise and absolutely EVERYTHING to around "how" they eat.)

    BTW, I said "HOW", and not "what"...

    Click this link to uncover if this short test can help you discover your real weight loss potential

    ตอบลบ