วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2558

การประเมินผลการเรียนรู้

        วรรณ์ดี แสงประทีปทอง (http://www.human.ku.ac.th/newdesign/files/ku_human_57.pdf) ได้กล่าวเกี่ยวกับการประเมินผลการเรียนรู้ไว้ว่า การวัดเป็นกระบวนการที่จะได้มาซึ่งตัวเลขหรือสัญลักษณ์แทนคุณภาพหรือคุณลักษณะอย่างมีกฎเกณฑ์ และการประเมินเป็นกระบวนการตัดสินคุณค่าของสิ่งที่ได้จากการวัด
          จุดมุ่งหมายของการวัดและประเมินผลการเรียน
          
1. วัดและประเมินเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอน
            
2. การวัดและประเมินเพื่อตัดสินผลการเรียน
          ประเภทของการวัดและประเมินผล
           
1. การวัดและประเมินผลก่อนเรียน
         
  2. การวัดและประเมินผลระหว่างเรียน
           
3. การวัดและประเมินผลหลังเรียน
          ลักษณะของการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
           
1. เป็นการวัดทางอ้อม
           
2. เป็นการวัดตัวแทนของความรู้
           
3. เป็นการวัดที่อาจเกิดความคลาดเคลื่อน
          แนวคิดของการวัดและประเมินผลการศึกษา
            อิงกลุ่ม
          
1. เทียบความสามารถของผู้สอบกับคนอื่นๆในกลุ่ม
           
2. เหมาะกับการสอบคัดเลือก
             อิงเกณฑ์
           
1. ผู้เรียนสามารถทำอะไรได้หลังจากที่มีการเรียนการสอนไปแล้ว
           
2. เหมาะกับการเรียนการสอนการวินิจฉัย
          http://www.ipecp.ac.th/ipecp/cgi-binn/webpili/unit1/level1-2.html ได้รวบรวมบทบาทของการวัดและประเมินผลการศึกษาไว้ว่า เมื่อพิจารณาตามองค์ประกอบพื้นฐานของกระบวนการเรียนการสอนแล้วจะพบว่าการวัดและประเมินผลเข้าไปมีบทบาทแทรกอยู่ในกระบวนการเรียนการสอน 3 ช่วง  คือ
          ช่วงที่
1 วัดผลและประเมินผลก่อนการเรียนการสอน
            มีจุดมุ่งหมายเพื่อที่จะตรวจสอบพฤติกรรมพื้นฐานของผู้เรียนว่ามีความพร้อม  และมีความสามารถพอที่จะเรียนรู้ในเรื่องที่จะสอนต่อไปมากน้อยเพียงใด  ควรที่จะเพิ่มเติมความรู้หรือทักษะพื้นฐานในเรื่องใดก่อนหรือไม่  หรืออาจจะใช้ผลจากการวัดนี้เป็นเกณฑ์ในการแบ่งกลุ่มนักเรียนเพื่อจะได้เลือกใช้วิธีสอน  กิจกรรม  และอุปกรณ์ให้เหมาะสม  ซึ่งจะทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
          ช่วงที่
2 วัดผลและประเมินผลในขณะทำการเรียนการสอน
            มีจุดมุ่งหมายเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพสูงสุด  นั่นคือในขณะที่ครูกำลังดำเนินการสอนในแต่ละขั้นตอนตามลำดับนั้น  ครูจำเป็นต้องมีการทดสอบย่อยควบคู่ไปด้วยตลอดเวลา  อย่างที่เรียกว่า
สอนไป สอบไปทั้งนี้ก็เพื่อจะดูว่าในแต่ละเนื้อหาย่อยที่ครูกำลังดำเนินการสอนอยู่นั้น  นักเรียนประสบความสำเร็จเพียงใดจะสอนในหน่วยต่อไปได้หรือไม่ หรือจำเป็นต้องสอนซ่อมเสริมหน่วยย่อยเดิมเสียก่อนการสอบวัดในช่วงนี้จัดเป็นการสอบวัดที่เรียกว่าการประเมินผลย่อย(Formative  Evaluation)
          ช่วงที่
3 วัดผลและประเมินผลเมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอน
            มีจุดมุ่งหมายเพื่อตรวจสอบโดยสรุปของผลการเรียนการสอนทั้งหมดว่าเมื่อครบตามระยะเวลาที่กำหนดไว้แล้วนักเรียนมีความสำเร็จในการเรียนรู้ทั้งสิ้นอย่างไร  ลักษณะของการประเมินผลจึงเป็น การประเมินผลรวม  (
Summative Evaluation) กล่าวคือจะเป็นการสอบวัดในลักษณะสรุปรวมทุกหน่วยการเรียนที่เรียนไปแล้วเพื่อตัดสินได้ ตกในวิชานั้น
          http://www.myfirstbrain.com/teacher_view.aspx?id=88814 ได้รวบรวมและกล่าวเกี่ยวกับบทบาทของครูและผู้เรียนในการประเมินผลการเรียนรู้ว่า หลักสูตรที่ใช้อยู่ในปัจจุบันกำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ (Content Standards) เป็นเป้าหมาย เกณฑ์ในการพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของผู้เรียนที่ครอบคลุมความรู้ ความสามารถ ทักษะ และคุณลักษณะใน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ มาตรฐานการเรียนรู้จึงเป็นกลไกในการขับเคลื่อนการเรียนการสอนและการวัดประเมินผล การวัดและประเมินผลถือเป็นจุดสำคัญขั้นตอนหนึ่งที่จะบ่งชี้ได้ว่าผู้เรียนบรรลุถึงมาตรฐานการเรียนรู้หรือไม่เพียงใด ครูผู้สอนและผู้เรียนจึงมีบทบาทสำคัญยิ่งในการที่จะร่วมกันวางแผนการประเมินและดำเนินการวัดและประเมินผลให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล
          การประเมินผลการเรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้
           สิ่งที่ต้องการสำหรับครูผู้สอนก็คือทำอย่างไรจึงจะประเมินผู้เรียนให้ครอบคลุมทุกด้าน ตั้งแต่เนื้อหาสาระที่เป็นองค์ความรู้ ความสามารถตามสมรรถนะสำคัญและคุณลักษณะที่หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด ครูผู้สอนจึงต้องทำความเข้าใจกับสิ่งเหล่านี้เสียก่อนให้ชัดเจน ก่อนที่จะดำเนินการวัดและประเมินผลการเรียนรู้

          1.ทำอย่างไรให้ผู้เรียนมีความรู้ ความสามารถตามสมรรถนะสำคัญและคุณลักษณะตามตัวชี้วัดที่มาตรฐานการเรียนรู้กำหนด โดยผู้เรียนเป็นผู้ปฏิบัติด้วยตนเองมากที่สุด
          2.มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานถูกนำไปจัดทำหลักสูตรสถานศึกษามีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างในการพัฒนาผู้เรียนไปสู่มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดนั้น
          3.มีการกำหนดเป้าหมายการประเมิน คือ สิ่งที่ต้องการวัด วิธีการประเมินเครื่องมือ และเกณฑ์การประเมินในการวางแผนการประเมินอย่างไรบ้าง
          4.ดำเนินการประเมินตามวิธีการและเครื่องมือที่กำหนด เพื่อพัฒนาผู้เรียนไปสู่มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดที่กำหนด
          5.ประเมินผลการเรียนรู้ควบคู่ไปกับการเรียนการสอนตลอดเวลา
        เป้าหมายแห่งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

          1. องค์ความรู้ (ความรู้เนื้อหา) / สารสนเทศ (Knowledge / Information)
          2.ทักษะ / กระบวนการ (Skills / Process)
          3.การคิดและการใฝ่เหตุผล (Thinking and Reasoning) เช่น การเปรียบเทียบ วิเคราะห์ จัดจำพวก อ้างเหตุผลพิสูจน์ ข้อสรุป ตัดสินใจ
          4.การสื่อสาร (Communication) เช่น พูดปากเปล่า สื่อสารกับบุคคล อธิบายแนวคิด   
       กุญแจสำคัญที่นำไปสู่การสนับสนุนการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจ(
Understanding)
          1.แบบอย่าง (Patterns)
          2.การเชื่อมต่อระหว่างกัน (Interconnection) ภาพองค์รวม (the whole)
          3.โลกแห่งความเป็นจริง (Authenticity)
          4.ประสบการณ์ (Experience)
          5.ความเข้าใจในสถานการณ์สำคัญ (The Big picture)
          6.ความเข้าใจ (Understanding) การรู้ (Knowing)
 สรุป
          จากการศึกษาการประเมินผลการเรียนรู้สามารถสรุปได้ว่า การวัดเป็นกระบวนการที่จะได้มาซึ่งตัวเลขหรือสัญลักษณ์แทนคุณภาพ ส่วนการประเมินเป็นกระบวนการตัดสินคุณค่าของสิ่งที่ได้จากการวัด โดยจุดมีมุ่งหมายของการวัดและประเมินผลการเรียน เพื่อปรับปรุงการเรียนการสอน และเพื่อตัดสินผลการเรียน จะประกอบด้วย
3 ประเภทได้แก่ การวัดและประเมินผลก่อนเรียนมีจุดมุ่งหมายเพื่อที่จะตรวจสอบพฤติกรรมพื้นฐานของผู้เรียน การวัดและประเมินผลระหว่างเรียนจุดมุ่งหมายเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพสูงสุด  การวัดและประเมินผลหลังเรียนมีจุดมุ่งหมายเพื่อตรวจสอบโดยสรุปของผลการเรียนการสอนทั้งหมด การประเมินผลการเรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้ สิ่งที่ต้องการสำหรับครูผู้สอนก็คือทำอย่างไรจึงจะประเมินผู้เรียนให้ครอบคลุมทุกด้าน ตั้งแต่เนื้อหาสาระที่เป็นองค์ความรู้ ความสามารถตามสมรรถนะสำคัญและคุณลักษณะที่หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด  โดยมีกุญแจสำคัญที่นำไปสู่การสนับสนุนการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจได้แก่ แบบอย่าง (Patterns) การเชื่อมต่อระหว่างกัน (Interconnection) ภาพองค์รวม (the whole) โลกแห่งความเป็นจริง (Authenticity) ประสบการณ์ (Experience) ความเข้าใจในสถานการณ์สำคัญ (The Big picture) และความเข้าใจ (Understanding) การรู้ (Knowing)
ที่มา

วรรณ์ดี แสงประทีปทอง.[online]
       http://www.human.ku.ac.th/newdesign/files/ku_human_57.pdf.  การประเมินผลการ
      เรียนรู้
. สืบค้นเมื่อ
9 กันยายน 2558. 

http://www.ipecp.ac.th/ipecp/cgi-binn/webpili/unit1/level1-2.html . บทบาทของการวัดและ
      ประเมินผลการศึกษา.
สืบค้นเมื่อ
9 กันยายน 2558.

http://www.myfirstbrain.com/teacher_view.aspx?id=88814. บทบาทของครูและผู้เรียนในการ
       ประเมินผลการเรียนรู้.
สืบค้นเมื่อ
9 กันยายน 2558.  
         





          

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น