ณิชาภัทร ศรีนฤวรรณ
(https://www.gotoknow.org/posts/197570) ได้กล่าวว่าประโยชน์ของการนำเด็กที่มีความต้องการพิเศษเข้าระบบการศึกษาร่วมกับเด็กปกติ
เด็กที่มีความต้องการพิเศษ จากงานวิจัยทั้งในและต่างประเทศพบว่าการนำเด็กที่มีความต้องการพิเศษเข้าเรียนรวมกับเด็กปกติพบว่าเด็กที่มีความต้องการพิเศษได้รับการยอมรับจากเพื่อนและบุคคลรอบข้างมากขึ้นมีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม ภาษา และสติปัญญา เพิ่มขึ้น ได้มีโอกาสพัฒนาความสามารถที่มีอยู่ของตนเองตามศักยภาพ และเด็กที่มีความต้องการพิเศษได้มีโอกาสเรียนรู้ทักษะใหม่และมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมลดลง
เด็กปกติ พบว่าเด็กปกติได้เรียนรู้จากชีวิตจริงว่ามีคนที่มีความแตกต่างจากตนเองและเข้าใจสภาพความแตกต่างระหว่างบุคคล เข้าใจธรรมชาติของเด็กที่มีความต้องการพิเศษมากขึ้น และเด็กปกติได้เรียนรู้การมีความเมตตา กรุณา ความมีน้ำใจ การให้ความช่วยเหลือบุคคลที่ด้อยกว่าตนเอง
ผู้ปกครองเด็กที่มีความต้องการพิเศษ พบว่าผู้ปกครองมีความเครียด ความวิตกกังวล ความอาย ลดลง และรู้สึกว่าตนเองไม่ได้อยู่โดดเดี่ยวมีคนรอบข้างพร้อมที่จะยื่นมือมาช่วยเหลือเพียงแต่ผู้ปกครองของเด็กที่มีความต้องการพิเศษกล้าที่จะเปิดเผยเด็กต่อชุมชน และให้โอกาสเด็กได้ทำกิจกรรมต่างๆเหมือนเด็กคนอื่นๆ
ผู้ปกครองเด็กปกติ พบว่าผู้ปกครองเด็กปกติได้เรียนรู้การเป็นผู้ให้และผู้รับ มีความเข้าใจลูกของตนเองมากขึ้นจากการได้เรียนรู้และสัมผัสกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ได้เรียนรู้การช่วยเหลือ การแบ่งปัน และมีทัศนคติที่ดีต่อเด็กหรือผู้ปกครองเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
ชุมชนหรือสังคม พบว่า ประหยัดเงินงบประมาณ บุคลากร และทำให้ไม่เกิดการแบ่งแยกในสังคม เกิดการยอมรับซึ่งกันและกัน ถือเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะทำให้ทุกคนสามารถดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุข
อธิวัฒน์ พรหมจันทร์ ( https://www.gotoknow.org/posts/545771 )ได้กล่าวว่าการศึกษาแบบเรียนรวม หมายถึง การรับเด็กเข้ารับการศึกษาโดยไม่แบ่งแยกความบกพร่องของเด็ก หรือคัดแยกเด็กที่ด้อยว่าเด็กส่วนใหญ่ออกจากชั้นเรียน แต่จะใช้การบริหารจัดการและวิธีการในการให้เด็กเกิดการเรียนรู้และพัฒนาการตามความต้องการ จำเป็นอย่างเหมาะสมเป็นรายบุคคล
แนวคิดและปรัชญาของการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม
การจัดการศึกษาแบบเรียนรวม จะต้องร่วมมือกันระหว่างองค์กรที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชน รวมทั้งผู้ปกครองและชุมชน โดยปลูกฝังด้านจิตสำนึกและเจตคติเกี่ยวกับการจัดการศึกษาให้แก่เด็กทุกคนโดยคำนึงถึงศักยภาพความแตกต่างระหว่างบุคคล หรือความบกพร่องเฉพาะบุคคล ซึ่งจะให้สิทธิเท่าเทียมกันทุกคน โดยไม่เลือกปฏิบัติต่อบุคคลใดเป็นพิเศษเฉพาะ
ปรัชญาของการศึกษาแบบเรียนรวม
เกิดจากปรัชญาการศึกษาที่กล่าวไว้ว่า การศึกษาเพื่อทุกคน (Education for All) เพราะเด็กแต่ละคนจะมีความแตกต่างทั้งในด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์และสังคม ดังนั้นความต้องการของเด็ก ๆ ทุกคนย่อมมีความแตกต่างกันแม้อยู่ในชั้นเรียนเดียวกัน โรงเรียนและครูจึงต้องปรับเปลี่ยนเพื่อให้เด็กทุกคนเรียนรวมกันและได้รับการพัฒนาเต็มศักยภาพของแต่ละบุคคล
ทฤษฎีของการศึกษาแบบเรียนรวม
การดำเนินการศึกษาแบบเรียนรวม มีหลักการดังนี้ทำสัญญาร่วมกันในการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม ซึ่งองค์การสหประชาชาติ ได้ประกาศไว้เมื่อปี คริสตศักราช 1995 ให้ทุกประเทศจัดการศึกษาแบบเรียนรวมดำเนินการตามหลักการแบ่งสัดส่วนตามธรรมชาติ ซึ่งในสังคมหรือชุมชนหนึ่ง ๆ จะมีเด็กพิการหรือเด็กพิเศษปะปนอยู่ เด็กทั้งหมดควรอยู่ร่วมกันตามปกติ โดยไม่มีการนำเด็กพิเศษออกจากชุมชนมารวมกันเพื่อรับการศึกษาที่เป็นการขัดแย้งกับธรรมชาตินำบุคลากรทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเด็กมาทำงานร่วมกัน ได้แก่ พ่อแม่ ผู้ปกครอง ของเด็กปกติและเด็กพิเศษ ผู้บริหารโรงเรียน ผู้ช่วยผู้บริหาร ครูประจำชั้น ครูพิเศษ และบุคลากรในชุมชนอื่นๆ พัฒนาเครือข่ายผู้ให้การสนับสนุน ซึ่งครูทุกคนในโรงเรียนจะต้องช่วยกันทำงานไม่ถือว่าเป็นหน้าที่ของคนใดคนหนึ่ง ถ้าหากมีเด็กพิเศษในโรงเรียน รวมทั้งการพบพูดคุยและปรึกษากับผู้ปกครอง จัดให้ผู้ปกครองเด็กพิเศษด้วยกันและผู้ปกครองเด็กปกติพบกันเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันหรือสนับสนุนในเรื่องต่าง ๆ แก่กันจัดให้มีกิจกรรมร่วมกันระหว่างเด็ก ผู้ปกครอง ครู ผู้บริหารและบุคลากรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการใช้ทรัพยากรร่วมกันทั้งในโรงเรียนและในชุมชน รวมทั้งจัดสรรงบประมาณทั้งภาครัฐและเอกชนในกิจกรรมร่วมระหว่างเด็กพิเศษกับเด็กปกติจัดการปรับเปลี่ยนหลักสูตร เพื่อให้เกิดความเหมาะสมและครอบคลุมถึงเด็กพิเศษทุกคนในกลุ่มเด็กปกติจัดให้มีความยืดหยุ่นในทุกสถานการณ์ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่เด็กพิเศษและเด็กปกติทุกคน
หลักการการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม
แผนการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมการเรียนรู้ของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ลักษณะความแตกต่างกันระหว่างบุคคลมีผลต่อระดับความสำเร็จในการเรียนรู้ ทั้งนี้เพราะการเรียนรู้เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปจากเดิมเพื่อไปสู่พฤติกรรมใหม่ที่ค่อนข้างถาวร อันเป็นผลมาจากประสบการณ์ หรือการฝึกฝน ซึ่งการเรียนรู้ของคนเราอาศัยประสาทสัมผัส ได้แก่ หู ตา จมูกลิ้น กาย ใจ เป็นองค์ประกอบหลักของการเรียนรู้และการรับรู้ หากมีส่วนใดส่วนหนึ่งสูญเสีย หรือบกพร่องไปย่อมมีผลต่อการเรียนรู้ และการรับรู้ตามไปด้วย ทำให้การเรียนรู้ของเด็กต้องล้มเหลว เรียนไม่ได้ดีเท่าที่ควรหรือเกิดข้อขัดข้องเสียก่อน ซึ่งอาจจัดเป็นองค์ประกอบใหญ่ ๆ ได้ 3 ประการ
1. องค์ประกอบด้านสรีรวิทยา ได้แก่ สาเหตุที่สืบเนื่องมาจากการทำงานผิดปกติของระบบการทำงานของร่างกาย เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับปัญหาทางร่างกายของเด็กเอง
2. องค์ประกอบด้านจิตวิทยา ได้แก่ สติปัญญา อัตราเร็วของการเรียนรู้ ความรู้สึกนึกคิดเกี่ยวกับตนเอง การปรับตัวทางอารมณ์และสังคม ความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวและเพื่อน
3. องค์ประกอบด้านสภาพแวดล้อม ตลอดจนประสบการณ์ต่าง ๆ เด็กที่มีความต้องการพิเศษย่อมได้รับผลกระทบต่อการเรียนรู้ในด้าน ต่าง ๆ และหากเป็นเด็กที่มีความบกพร่องทางด้านต่าง ๆ ซ้อนจะมีผลกระทบต่อการเรียนรู้มากขึ้นไปอีก ซึ่งแยกพิจารณาถึงผลกระทบของความบกพร่องที่มีต่อการเรียนรู้ของเด็กที่มีความต้องการแต่ละประเภท ดังนี้
1. เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
2. เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
3. เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น
4. เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
5. เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา
6. เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
7. เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
8. การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
https://docs.google.com/presentation/d/1k9Vs6hE8BXzc3ARmOPvg329JPGcqUHbSKE87o-m7604/embed?slide=id.i0#slide=id.i56 ได้รวบรวบและกล่าวว่า การจัดการเรียนรวม สำหรับเด็กพิเศษที่เข้าเรียนรวมกับเพื่อนๆปกติแบบเคียงบ่าเคียงไหล่กันไปจะส่งผลให้เด็กเรียนรู้ที่จะยอมรับซึ่งกันและกัน เด็กจะเข้าใจความเหมือนและการไม่เหมือนในการอยู่ร่วมกัน เด็กปกติเรียนรู้ที่จะยอมรับความพิการของเพื่อน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเขา การยอมรับความพิการ การไร้ความสามารถ จึงเป็นเร่องจำเป็น นอกจากนี้เด็กที่เรียนรวมนั้นจะได้รับประโยชน์จากการร่วมมือและความรู้สึกรับผิดชอบที่จะพัฒนาไปด้วยกันในชั้นเรียน การมีปฏิสัมพันธ์เช่นนี้จะส่งผลให้มีการยอมรับซึ่งกันและกัน รู้สึกและตระหนักถึงความพิการได้ ซึ่งสิ่งนี้เป็นเรื่องสำคัญเมื่อเด็กเหล่านี้ย่างเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ อย่างไรก็ตามเด็กที่เรียนในระบบ “Inclusion” ยังคงต้องได้รับการบริการศึกษาพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นครูพิเศษ สื่อสิ่งอำนวยความสะดวกและบริการทางการศึกษาพิเศษต่อเนื่องกันไป การเรียนในระบบนี้มิได้หมายความว่าจะลดบริการพิเศษต่างๆลงหากเพียงแต่มีการเปลี่ยนวิธีการจัดการและการให้บริการ
ทฤษฎีพื้นฐานของการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม
1. การจัดการเรียนรวมให้กับเด็กพิการหรือมีความบกพร่องนั้นจะทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อมีการจัดให้นักเรียนได้เรียนในสภาพแวดล้อมที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด (The Least Restrictive Environment : LRE )
2. การจัดการเรียนรวมต้องอาศัยการทำงานร่วมกันของผู้เชี่ยวชาญหลายสาขาอาชีพ (Transdisciplinary Team) และพ่อแม่หรือผู้ปกครองในลักษณะการรวมพลัง (Collaboration)
3. การจัดให้นักเรียนพิการที่มีความแตกต่างเฉพาะบุคคลเข้าเรียนร่วมกับเด็กทั่วไปนั้นต้องอาศัยแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program : IEP)
สรุป
การศึกษาแบบเรียนรวมนั้น หมายถึง การรับเด็กเข้ารับการศึกษาโดยไม่แบ่งแยกความบกพร่องของเด็ก และวิธีการในการให้เด็กเกิดการเรียนรู้และพัฒนาการตามความต้องการ จำเป็นอย่างเหมาะสมเป็นรายบุคคล โดยแนวคิดและปรัชญาของการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม การจัดการศึกษาแบบเรียนรวม จะต้องร่วมมือกันระหว่างองค์กรที่เกี่ยวข้อง โดยปลูกฝังด้านจิตสำนึกและเจตคติเกี่ยวกับการจัดการศึกษาให้แก่เด็กทุกคนโดยคำนึงถึงศักยภาพความแตกต่างระหว่างบุคคล ไม่เลือกปฏิบัติต่อบุคคลใดเป็นพิเศษเฉพาะ หลักการการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมโดยมีแผนการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมตามการเรียนรู้ของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ลักษณะความแตกต่างกันระหว่างบุคคล ซึ่งอาจจัดเป็นองค์ประกอบใหญ่ ๆ ได้ 3 ประการ1. องค์ประกอบด้านด้านสรีรวิทยา 2. องค์ประกอบด้านจิตวิทยา และ3. องค์ประกอบด้านสภาพแวดล้อม
นอกจากนี้เด็กที่เรียนรวมนั้นจะได้รับประโยชน์จากการร่วมมือและความรู้สึกรับผิดชอบที่จะพัฒนาไปด้วยกันในชั้นเรียน การมีปฏิสัมพันธ์เช่นนี้จะส่งผลให้มีการยอมรับซึ่งกันและกัน และในการจัดการเรียนรวมนั้นมีประโยชน์มากมาย ได้แก่ เด็กที่มีความต้องการพิเศษได้รับการยอมรับจากเพื่อนและบุคคลรอบข้างมากขึ้น ปกติได้เรียนรู้จากชีวิตจริงว่ามีคนที่มีความแตกต่างจากตนเองและเข้าใจสภาพความแตกต่างระหว่างบุคคล ผู้ปกครองเด็กที่มีความต้องการพิเศษ มีความเครียด ความวิตกกังวล ความอาย ลดลง และรู้สึกว่าตนเองไม่ได้อยู่โดดเดี่ยว ผู้ปกครองเด็กปกติ ได้เรียนรู้การเป็นผู้ให้และผู้รับ และ ชุมชนหรือสังคม ทำให้ไม่เกิดการแบ่งแยกในสังคม เกิดการยอมรับซึ่งกันและกัน
ที่มา
ณิชาภัทร ศรีนฤวรรณ . [online] https://www.gotoknow.org/posts/197570. ประโยชน์
ของการเรียนรวม.สืบค้นเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2558.
อธิวัฒน์ พรหมจันทร์. [online] https://www.gotoknow.org/posts/545771. การบูรณาการ
เรียนรู้แบบเรียนรวม.สืบค้นเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2558.
https://docs.google.com/presentation/d/1k9Vs6hE8BXzc3ARmOPvg329JPGcqUHbSKE87o-m7604/embed?slide=id.i0#slide=id.i56 . ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการศึกษา
แบบเรียนรวม.สืบค้นเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2558.
เด็กที่มีความต้องการพิเศษ จากงานวิจัยทั้งในและต่างประเทศพบว่าการนำเด็กที่มีความต้องการพิเศษเข้าเรียนรวมกับเด็กปกติพบว่าเด็กที่มีความต้องการพิเศษได้รับการยอมรับจากเพื่อนและบุคคลรอบข้างมากขึ้นมีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม ภาษา และสติปัญญา เพิ่มขึ้น ได้มีโอกาสพัฒนาความสามารถที่มีอยู่ของตนเองตามศักยภาพ และเด็กที่มีความต้องการพิเศษได้มีโอกาสเรียนรู้ทักษะใหม่และมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมลดลง
เด็กปกติ พบว่าเด็กปกติได้เรียนรู้จากชีวิตจริงว่ามีคนที่มีความแตกต่างจากตนเองและเข้าใจสภาพความแตกต่างระหว่างบุคคล เข้าใจธรรมชาติของเด็กที่มีความต้องการพิเศษมากขึ้น และเด็กปกติได้เรียนรู้การมีความเมตตา กรุณา ความมีน้ำใจ การให้ความช่วยเหลือบุคคลที่ด้อยกว่าตนเอง
ผู้ปกครองเด็กที่มีความต้องการพิเศษ พบว่าผู้ปกครองมีความเครียด ความวิตกกังวล ความอาย ลดลง และรู้สึกว่าตนเองไม่ได้อยู่โดดเดี่ยวมีคนรอบข้างพร้อมที่จะยื่นมือมาช่วยเหลือเพียงแต่ผู้ปกครองของเด็กที่มีความต้องการพิเศษกล้าที่จะเปิดเผยเด็กต่อชุมชน และให้โอกาสเด็กได้ทำกิจกรรมต่างๆเหมือนเด็กคนอื่นๆ
ผู้ปกครองเด็กปกติ พบว่าผู้ปกครองเด็กปกติได้เรียนรู้การเป็นผู้ให้และผู้รับ มีความเข้าใจลูกของตนเองมากขึ้นจากการได้เรียนรู้และสัมผัสกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ได้เรียนรู้การช่วยเหลือ การแบ่งปัน และมีทัศนคติที่ดีต่อเด็กหรือผู้ปกครองเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
ชุมชนหรือสังคม พบว่า ประหยัดเงินงบประมาณ บุคลากร และทำให้ไม่เกิดการแบ่งแยกในสังคม เกิดการยอมรับซึ่งกันและกัน ถือเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะทำให้ทุกคนสามารถดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุข
อธิวัฒน์ พรหมจันทร์ ( https://www.gotoknow.org/posts/545771 )ได้กล่าวว่าการศึกษาแบบเรียนรวม หมายถึง การรับเด็กเข้ารับการศึกษาโดยไม่แบ่งแยกความบกพร่องของเด็ก หรือคัดแยกเด็กที่ด้อยว่าเด็กส่วนใหญ่ออกจากชั้นเรียน แต่จะใช้การบริหารจัดการและวิธีการในการให้เด็กเกิดการเรียนรู้และพัฒนาการตามความต้องการ จำเป็นอย่างเหมาะสมเป็นรายบุคคล
แนวคิดและปรัชญาของการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม
การจัดการศึกษาแบบเรียนรวม จะต้องร่วมมือกันระหว่างองค์กรที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชน รวมทั้งผู้ปกครองและชุมชน โดยปลูกฝังด้านจิตสำนึกและเจตคติเกี่ยวกับการจัดการศึกษาให้แก่เด็กทุกคนโดยคำนึงถึงศักยภาพความแตกต่างระหว่างบุคคล หรือความบกพร่องเฉพาะบุคคล ซึ่งจะให้สิทธิเท่าเทียมกันทุกคน โดยไม่เลือกปฏิบัติต่อบุคคลใดเป็นพิเศษเฉพาะ
ปรัชญาของการศึกษาแบบเรียนรวม
เกิดจากปรัชญาการศึกษาที่กล่าวไว้ว่า การศึกษาเพื่อทุกคน (Education for All) เพราะเด็กแต่ละคนจะมีความแตกต่างทั้งในด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์และสังคม ดังนั้นความต้องการของเด็ก ๆ ทุกคนย่อมมีความแตกต่างกันแม้อยู่ในชั้นเรียนเดียวกัน โรงเรียนและครูจึงต้องปรับเปลี่ยนเพื่อให้เด็กทุกคนเรียนรวมกันและได้รับการพัฒนาเต็มศักยภาพของแต่ละบุคคล
ทฤษฎีของการศึกษาแบบเรียนรวม
การดำเนินการศึกษาแบบเรียนรวม มีหลักการดังนี้ทำสัญญาร่วมกันในการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม ซึ่งองค์การสหประชาชาติ ได้ประกาศไว้เมื่อปี คริสตศักราช 1995 ให้ทุกประเทศจัดการศึกษาแบบเรียนรวมดำเนินการตามหลักการแบ่งสัดส่วนตามธรรมชาติ ซึ่งในสังคมหรือชุมชนหนึ่ง ๆ จะมีเด็กพิการหรือเด็กพิเศษปะปนอยู่ เด็กทั้งหมดควรอยู่ร่วมกันตามปกติ โดยไม่มีการนำเด็กพิเศษออกจากชุมชนมารวมกันเพื่อรับการศึกษาที่เป็นการขัดแย้งกับธรรมชาตินำบุคลากรทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเด็กมาทำงานร่วมกัน ได้แก่ พ่อแม่ ผู้ปกครอง ของเด็กปกติและเด็กพิเศษ ผู้บริหารโรงเรียน ผู้ช่วยผู้บริหาร ครูประจำชั้น ครูพิเศษ และบุคลากรในชุมชนอื่นๆ พัฒนาเครือข่ายผู้ให้การสนับสนุน ซึ่งครูทุกคนในโรงเรียนจะต้องช่วยกันทำงานไม่ถือว่าเป็นหน้าที่ของคนใดคนหนึ่ง ถ้าหากมีเด็กพิเศษในโรงเรียน รวมทั้งการพบพูดคุยและปรึกษากับผู้ปกครอง จัดให้ผู้ปกครองเด็กพิเศษด้วยกันและผู้ปกครองเด็กปกติพบกันเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันหรือสนับสนุนในเรื่องต่าง ๆ แก่กันจัดให้มีกิจกรรมร่วมกันระหว่างเด็ก ผู้ปกครอง ครู ผู้บริหารและบุคลากรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการใช้ทรัพยากรร่วมกันทั้งในโรงเรียนและในชุมชน รวมทั้งจัดสรรงบประมาณทั้งภาครัฐและเอกชนในกิจกรรมร่วมระหว่างเด็กพิเศษกับเด็กปกติจัดการปรับเปลี่ยนหลักสูตร เพื่อให้เกิดความเหมาะสมและครอบคลุมถึงเด็กพิเศษทุกคนในกลุ่มเด็กปกติจัดให้มีความยืดหยุ่นในทุกสถานการณ์ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่เด็กพิเศษและเด็กปกติทุกคน
หลักการการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม
แผนการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมการเรียนรู้ของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ลักษณะความแตกต่างกันระหว่างบุคคลมีผลต่อระดับความสำเร็จในการเรียนรู้ ทั้งนี้เพราะการเรียนรู้เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปจากเดิมเพื่อไปสู่พฤติกรรมใหม่ที่ค่อนข้างถาวร อันเป็นผลมาจากประสบการณ์ หรือการฝึกฝน ซึ่งการเรียนรู้ของคนเราอาศัยประสาทสัมผัส ได้แก่ หู ตา จมูกลิ้น กาย ใจ เป็นองค์ประกอบหลักของการเรียนรู้และการรับรู้ หากมีส่วนใดส่วนหนึ่งสูญเสีย หรือบกพร่องไปย่อมมีผลต่อการเรียนรู้ และการรับรู้ตามไปด้วย ทำให้การเรียนรู้ของเด็กต้องล้มเหลว เรียนไม่ได้ดีเท่าที่ควรหรือเกิดข้อขัดข้องเสียก่อน ซึ่งอาจจัดเป็นองค์ประกอบใหญ่ ๆ ได้ 3 ประการ
1. องค์ประกอบด้านสรีรวิทยา ได้แก่ สาเหตุที่สืบเนื่องมาจากการทำงานผิดปกติของระบบการทำงานของร่างกาย เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับปัญหาทางร่างกายของเด็กเอง
2. องค์ประกอบด้านจิตวิทยา ได้แก่ สติปัญญา อัตราเร็วของการเรียนรู้ ความรู้สึกนึกคิดเกี่ยวกับตนเอง การปรับตัวทางอารมณ์และสังคม ความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวและเพื่อน
3. องค์ประกอบด้านสภาพแวดล้อม ตลอดจนประสบการณ์ต่าง ๆ เด็กที่มีความต้องการพิเศษย่อมได้รับผลกระทบต่อการเรียนรู้ในด้าน ต่าง ๆ และหากเป็นเด็กที่มีความบกพร่องทางด้านต่าง ๆ ซ้อนจะมีผลกระทบต่อการเรียนรู้มากขึ้นไปอีก ซึ่งแยกพิจารณาถึงผลกระทบของความบกพร่องที่มีต่อการเรียนรู้ของเด็กที่มีความต้องการแต่ละประเภท ดังนี้
1. เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
2. เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
3. เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น
4. เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
5. เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา
6. เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
7. เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
8. การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
https://docs.google.com/presentation/d/1k9Vs6hE8BXzc3ARmOPvg329JPGcqUHbSKE87o-m7604/embed?slide=id.i0#slide=id.i56 ได้รวบรวบและกล่าวว่า การจัดการเรียนรวม สำหรับเด็กพิเศษที่เข้าเรียนรวมกับเพื่อนๆปกติแบบเคียงบ่าเคียงไหล่กันไปจะส่งผลให้เด็กเรียนรู้ที่จะยอมรับซึ่งกันและกัน เด็กจะเข้าใจความเหมือนและการไม่เหมือนในการอยู่ร่วมกัน เด็กปกติเรียนรู้ที่จะยอมรับความพิการของเพื่อน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเขา การยอมรับความพิการ การไร้ความสามารถ จึงเป็นเร่องจำเป็น นอกจากนี้เด็กที่เรียนรวมนั้นจะได้รับประโยชน์จากการร่วมมือและความรู้สึกรับผิดชอบที่จะพัฒนาไปด้วยกันในชั้นเรียน การมีปฏิสัมพันธ์เช่นนี้จะส่งผลให้มีการยอมรับซึ่งกันและกัน รู้สึกและตระหนักถึงความพิการได้ ซึ่งสิ่งนี้เป็นเรื่องสำคัญเมื่อเด็กเหล่านี้ย่างเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ อย่างไรก็ตามเด็กที่เรียนในระบบ “Inclusion” ยังคงต้องได้รับการบริการศึกษาพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นครูพิเศษ สื่อสิ่งอำนวยความสะดวกและบริการทางการศึกษาพิเศษต่อเนื่องกันไป การเรียนในระบบนี้มิได้หมายความว่าจะลดบริการพิเศษต่างๆลงหากเพียงแต่มีการเปลี่ยนวิธีการจัดการและการให้บริการ
ทฤษฎีพื้นฐานของการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม
1. การจัดการเรียนรวมให้กับเด็กพิการหรือมีความบกพร่องนั้นจะทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อมีการจัดให้นักเรียนได้เรียนในสภาพแวดล้อมที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด (The Least Restrictive Environment : LRE )
2. การจัดการเรียนรวมต้องอาศัยการทำงานร่วมกันของผู้เชี่ยวชาญหลายสาขาอาชีพ (Transdisciplinary Team) และพ่อแม่หรือผู้ปกครองในลักษณะการรวมพลัง (Collaboration)
3. การจัดให้นักเรียนพิการที่มีความแตกต่างเฉพาะบุคคลเข้าเรียนร่วมกับเด็กทั่วไปนั้นต้องอาศัยแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program : IEP)
สรุป
การศึกษาแบบเรียนรวมนั้น หมายถึง การรับเด็กเข้ารับการศึกษาโดยไม่แบ่งแยกความบกพร่องของเด็ก และวิธีการในการให้เด็กเกิดการเรียนรู้และพัฒนาการตามความต้องการ จำเป็นอย่างเหมาะสมเป็นรายบุคคล โดยแนวคิดและปรัชญาของการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม การจัดการศึกษาแบบเรียนรวม จะต้องร่วมมือกันระหว่างองค์กรที่เกี่ยวข้อง โดยปลูกฝังด้านจิตสำนึกและเจตคติเกี่ยวกับการจัดการศึกษาให้แก่เด็กทุกคนโดยคำนึงถึงศักยภาพความแตกต่างระหว่างบุคคล ไม่เลือกปฏิบัติต่อบุคคลใดเป็นพิเศษเฉพาะ หลักการการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมโดยมีแผนการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมตามการเรียนรู้ของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ลักษณะความแตกต่างกันระหว่างบุคคล ซึ่งอาจจัดเป็นองค์ประกอบใหญ่ ๆ ได้ 3 ประการ1. องค์ประกอบด้านด้านสรีรวิทยา 2. องค์ประกอบด้านจิตวิทยา และ3. องค์ประกอบด้านสภาพแวดล้อม
นอกจากนี้เด็กที่เรียนรวมนั้นจะได้รับประโยชน์จากการร่วมมือและความรู้สึกรับผิดชอบที่จะพัฒนาไปด้วยกันในชั้นเรียน การมีปฏิสัมพันธ์เช่นนี้จะส่งผลให้มีการยอมรับซึ่งกันและกัน และในการจัดการเรียนรวมนั้นมีประโยชน์มากมาย ได้แก่ เด็กที่มีความต้องการพิเศษได้รับการยอมรับจากเพื่อนและบุคคลรอบข้างมากขึ้น ปกติได้เรียนรู้จากชีวิตจริงว่ามีคนที่มีความแตกต่างจากตนเองและเข้าใจสภาพความแตกต่างระหว่างบุคคล ผู้ปกครองเด็กที่มีความต้องการพิเศษ มีความเครียด ความวิตกกังวล ความอาย ลดลง และรู้สึกว่าตนเองไม่ได้อยู่โดดเดี่ยว ผู้ปกครองเด็กปกติ ได้เรียนรู้การเป็นผู้ให้และผู้รับ และ ชุมชนหรือสังคม ทำให้ไม่เกิดการแบ่งแยกในสังคม เกิดการยอมรับซึ่งกันและกัน
ที่มา
ณิชาภัทร ศรีนฤวรรณ . [online] https://www.gotoknow.org/posts/197570. ประโยชน์
ของการเรียนรวม.สืบค้นเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2558.
อธิวัฒน์ พรหมจันทร์. [online] https://www.gotoknow.org/posts/545771. การบูรณาการ
เรียนรู้แบบเรียนรวม.สืบค้นเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2558.
https://docs.google.com/presentation/d/1k9Vs6hE8BXzc3ARmOPvg329JPGcqUHbSKE87o-m7604/embed?slide=id.i0#slide=id.i56 . ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการศึกษา
แบบเรียนรวม.สืบค้นเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2558.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น