วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2558

การประเมินผลการเรียนรู้

        วรรณ์ดี แสงประทีปทอง (http://www.human.ku.ac.th/newdesign/files/ku_human_57.pdf) ได้กล่าวเกี่ยวกับการประเมินผลการเรียนรู้ไว้ว่า การวัดเป็นกระบวนการที่จะได้มาซึ่งตัวเลขหรือสัญลักษณ์แทนคุณภาพหรือคุณลักษณะอย่างมีกฎเกณฑ์ และการประเมินเป็นกระบวนการตัดสินคุณค่าของสิ่งที่ได้จากการวัด
          จุดมุ่งหมายของการวัดและประเมินผลการเรียน
          
1. วัดและประเมินเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอน
            
2. การวัดและประเมินเพื่อตัดสินผลการเรียน
          ประเภทของการวัดและประเมินผล
           
1. การวัดและประเมินผลก่อนเรียน
         
  2. การวัดและประเมินผลระหว่างเรียน
           
3. การวัดและประเมินผลหลังเรียน
          ลักษณะของการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
           
1. เป็นการวัดทางอ้อม
           
2. เป็นการวัดตัวแทนของความรู้
           
3. เป็นการวัดที่อาจเกิดความคลาดเคลื่อน
          แนวคิดของการวัดและประเมินผลการศึกษา
            อิงกลุ่ม
          
1. เทียบความสามารถของผู้สอบกับคนอื่นๆในกลุ่ม
           
2. เหมาะกับการสอบคัดเลือก
             อิงเกณฑ์
           
1. ผู้เรียนสามารถทำอะไรได้หลังจากที่มีการเรียนการสอนไปแล้ว
           
2. เหมาะกับการเรียนการสอนการวินิจฉัย
          http://www.ipecp.ac.th/ipecp/cgi-binn/webpili/unit1/level1-2.html ได้รวบรวมบทบาทของการวัดและประเมินผลการศึกษาไว้ว่า เมื่อพิจารณาตามองค์ประกอบพื้นฐานของกระบวนการเรียนการสอนแล้วจะพบว่าการวัดและประเมินผลเข้าไปมีบทบาทแทรกอยู่ในกระบวนการเรียนการสอน 3 ช่วง  คือ
          ช่วงที่
1 วัดผลและประเมินผลก่อนการเรียนการสอน
            มีจุดมุ่งหมายเพื่อที่จะตรวจสอบพฤติกรรมพื้นฐานของผู้เรียนว่ามีความพร้อม  และมีความสามารถพอที่จะเรียนรู้ในเรื่องที่จะสอนต่อไปมากน้อยเพียงใด  ควรที่จะเพิ่มเติมความรู้หรือทักษะพื้นฐานในเรื่องใดก่อนหรือไม่  หรืออาจจะใช้ผลจากการวัดนี้เป็นเกณฑ์ในการแบ่งกลุ่มนักเรียนเพื่อจะได้เลือกใช้วิธีสอน  กิจกรรม  และอุปกรณ์ให้เหมาะสม  ซึ่งจะทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
          ช่วงที่
2 วัดผลและประเมินผลในขณะทำการเรียนการสอน
            มีจุดมุ่งหมายเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพสูงสุด  นั่นคือในขณะที่ครูกำลังดำเนินการสอนในแต่ละขั้นตอนตามลำดับนั้น  ครูจำเป็นต้องมีการทดสอบย่อยควบคู่ไปด้วยตลอดเวลา  อย่างที่เรียกว่า
สอนไป สอบไปทั้งนี้ก็เพื่อจะดูว่าในแต่ละเนื้อหาย่อยที่ครูกำลังดำเนินการสอนอยู่นั้น  นักเรียนประสบความสำเร็จเพียงใดจะสอนในหน่วยต่อไปได้หรือไม่ หรือจำเป็นต้องสอนซ่อมเสริมหน่วยย่อยเดิมเสียก่อนการสอบวัดในช่วงนี้จัดเป็นการสอบวัดที่เรียกว่าการประเมินผลย่อย(Formative  Evaluation)
          ช่วงที่
3 วัดผลและประเมินผลเมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอน
            มีจุดมุ่งหมายเพื่อตรวจสอบโดยสรุปของผลการเรียนการสอนทั้งหมดว่าเมื่อครบตามระยะเวลาที่กำหนดไว้แล้วนักเรียนมีความสำเร็จในการเรียนรู้ทั้งสิ้นอย่างไร  ลักษณะของการประเมินผลจึงเป็น การประเมินผลรวม  (
Summative Evaluation) กล่าวคือจะเป็นการสอบวัดในลักษณะสรุปรวมทุกหน่วยการเรียนที่เรียนไปแล้วเพื่อตัดสินได้ ตกในวิชานั้น
          http://www.myfirstbrain.com/teacher_view.aspx?id=88814 ได้รวบรวมและกล่าวเกี่ยวกับบทบาทของครูและผู้เรียนในการประเมินผลการเรียนรู้ว่า หลักสูตรที่ใช้อยู่ในปัจจุบันกำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ (Content Standards) เป็นเป้าหมาย เกณฑ์ในการพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของผู้เรียนที่ครอบคลุมความรู้ ความสามารถ ทักษะ และคุณลักษณะใน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ มาตรฐานการเรียนรู้จึงเป็นกลไกในการขับเคลื่อนการเรียนการสอนและการวัดประเมินผล การวัดและประเมินผลถือเป็นจุดสำคัญขั้นตอนหนึ่งที่จะบ่งชี้ได้ว่าผู้เรียนบรรลุถึงมาตรฐานการเรียนรู้หรือไม่เพียงใด ครูผู้สอนและผู้เรียนจึงมีบทบาทสำคัญยิ่งในการที่จะร่วมกันวางแผนการประเมินและดำเนินการวัดและประเมินผลให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล
          การประเมินผลการเรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้
           สิ่งที่ต้องการสำหรับครูผู้สอนก็คือทำอย่างไรจึงจะประเมินผู้เรียนให้ครอบคลุมทุกด้าน ตั้งแต่เนื้อหาสาระที่เป็นองค์ความรู้ ความสามารถตามสมรรถนะสำคัญและคุณลักษณะที่หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด ครูผู้สอนจึงต้องทำความเข้าใจกับสิ่งเหล่านี้เสียก่อนให้ชัดเจน ก่อนที่จะดำเนินการวัดและประเมินผลการเรียนรู้

          1.ทำอย่างไรให้ผู้เรียนมีความรู้ ความสามารถตามสมรรถนะสำคัญและคุณลักษณะตามตัวชี้วัดที่มาตรฐานการเรียนรู้กำหนด โดยผู้เรียนเป็นผู้ปฏิบัติด้วยตนเองมากที่สุด
          2.มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานถูกนำไปจัดทำหลักสูตรสถานศึกษามีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างในการพัฒนาผู้เรียนไปสู่มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดนั้น
          3.มีการกำหนดเป้าหมายการประเมิน คือ สิ่งที่ต้องการวัด วิธีการประเมินเครื่องมือ และเกณฑ์การประเมินในการวางแผนการประเมินอย่างไรบ้าง
          4.ดำเนินการประเมินตามวิธีการและเครื่องมือที่กำหนด เพื่อพัฒนาผู้เรียนไปสู่มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดที่กำหนด
          5.ประเมินผลการเรียนรู้ควบคู่ไปกับการเรียนการสอนตลอดเวลา
        เป้าหมายแห่งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

          1. องค์ความรู้ (ความรู้เนื้อหา) / สารสนเทศ (Knowledge / Information)
          2.ทักษะ / กระบวนการ (Skills / Process)
          3.การคิดและการใฝ่เหตุผล (Thinking and Reasoning) เช่น การเปรียบเทียบ วิเคราะห์ จัดจำพวก อ้างเหตุผลพิสูจน์ ข้อสรุป ตัดสินใจ
          4.การสื่อสาร (Communication) เช่น พูดปากเปล่า สื่อสารกับบุคคล อธิบายแนวคิด   
       กุญแจสำคัญที่นำไปสู่การสนับสนุนการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจ(
Understanding)
          1.แบบอย่าง (Patterns)
          2.การเชื่อมต่อระหว่างกัน (Interconnection) ภาพองค์รวม (the whole)
          3.โลกแห่งความเป็นจริง (Authenticity)
          4.ประสบการณ์ (Experience)
          5.ความเข้าใจในสถานการณ์สำคัญ (The Big picture)
          6.ความเข้าใจ (Understanding) การรู้ (Knowing)
 สรุป
          จากการศึกษาการประเมินผลการเรียนรู้สามารถสรุปได้ว่า การวัดเป็นกระบวนการที่จะได้มาซึ่งตัวเลขหรือสัญลักษณ์แทนคุณภาพ ส่วนการประเมินเป็นกระบวนการตัดสินคุณค่าของสิ่งที่ได้จากการวัด โดยจุดมีมุ่งหมายของการวัดและประเมินผลการเรียน เพื่อปรับปรุงการเรียนการสอน และเพื่อตัดสินผลการเรียน จะประกอบด้วย
3 ประเภทได้แก่ การวัดและประเมินผลก่อนเรียนมีจุดมุ่งหมายเพื่อที่จะตรวจสอบพฤติกรรมพื้นฐานของผู้เรียน การวัดและประเมินผลระหว่างเรียนจุดมุ่งหมายเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพสูงสุด  การวัดและประเมินผลหลังเรียนมีจุดมุ่งหมายเพื่อตรวจสอบโดยสรุปของผลการเรียนการสอนทั้งหมด การประเมินผลการเรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้ สิ่งที่ต้องการสำหรับครูผู้สอนก็คือทำอย่างไรจึงจะประเมินผู้เรียนให้ครอบคลุมทุกด้าน ตั้งแต่เนื้อหาสาระที่เป็นองค์ความรู้ ความสามารถตามสมรรถนะสำคัญและคุณลักษณะที่หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด  โดยมีกุญแจสำคัญที่นำไปสู่การสนับสนุนการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจได้แก่ แบบอย่าง (Patterns) การเชื่อมต่อระหว่างกัน (Interconnection) ภาพองค์รวม (the whole) โลกแห่งความเป็นจริง (Authenticity) ประสบการณ์ (Experience) ความเข้าใจในสถานการณ์สำคัญ (The Big picture) และความเข้าใจ (Understanding) การรู้ (Knowing)
ที่มา

วรรณ์ดี แสงประทีปทอง.[online]
       http://www.human.ku.ac.th/newdesign/files/ku_human_57.pdf.  การประเมินผลการ
      เรียนรู้
. สืบค้นเมื่อ
9 กันยายน 2558. 

http://www.ipecp.ac.th/ipecp/cgi-binn/webpili/unit1/level1-2.html . บทบาทของการวัดและ
      ประเมินผลการศึกษา.
สืบค้นเมื่อ
9 กันยายน 2558.

http://www.myfirstbrain.com/teacher_view.aspx?id=88814. บทบาทของครูและผู้เรียนในการ
       ประเมินผลการเรียนรู้.
สืบค้นเมื่อ
9 กันยายน 2558.  
         





          

การเรียนรู้แบบเรียนรวม

         ณิชาภัทร ศรีนฤวรรณ (https://www.gotoknow.org/posts/197570) ได้กล่าวว่าประโยชน์ของการนำเด็กที่มีความต้องการพิเศษเข้าระบบการศึกษาร่วมกับเด็กปกติ
          เด็กที่มีความต้องการพิเศษ จากงานวิจัยทั้งในและต่างประเทศพบว่าการนำเด็กที่มีความต้องการพิเศษเข้าเรียนรวมกับเด็กปกติพบว่าเด็กที่มีความต้องการพิเศษได้รับการยอมรับจากเพื่อนและบุคคลรอบข้างมากขึ้นมีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม ภาษา และสติปัญญา เพิ่มขึ้น ได้มีโอกาสพัฒนาความสามารถที่มีอยู่ของตนเองตามศักยภาพ และเด็กที่มีความต้องการพิเศษได้มีโอกาสเรียนรู้ทักษะใหม่และมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมลดลง
          เด็กปกติ พบว่าเด็กปกติได้เรียนรู้จากชีวิตจริงว่ามีคนที่มีความแตกต่างจากตนเองและเข้าใจสภาพความแตกต่างระหว่างบุคคล เข้าใจธรรมชาติของเด็กที่มีความต้องการพิเศษมากขึ้น และเด็กปกติได้เรียนรู้การมีความเมตตา กรุณา ความมีน้ำใจ การให้ความช่วยเหลือบุคคลที่ด้อยกว่าตนเอง
          ผู้ปกครองเด็กที่มีความต้องการพิเศษ พบว่าผู้ปกครองมีความเครียด ความวิตกกังวล ความอาย ลดลง และรู้สึกว่าตนเองไม่ได้อยู่โดดเดี่ยวมีคนรอบข้างพร้อมที่จะยื่นมือมาช่วยเหลือเพียงแต่ผู้ปกครองของเด็กที่มีความต้องการพิเศษกล้าที่จะเปิดเผยเด็กต่อชุมชน และให้โอกาสเด็กได้ทำกิจกรรมต่างๆเหมือนเด็กคนอื่นๆ
          ผู้ปกครองเด็กปกติ พบว่าผู้ปกครองเด็กปกติได้เรียนรู้การเป็นผู้ให้และผู้รับ มีความเข้าใจลูกของตนเองมากขึ้นจากการได้เรียนรู้และสัมผัสกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ได้เรียนรู้การช่วยเหลือ การแบ่งปัน และมีทัศนคติที่ดีต่อเด็กหรือผู้ปกครองเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
          ชุมชนหรือสังคม พบว่า ประหยัดเงินงบประมาณ บุคลากร และทำให้ไม่เกิดการแบ่งแยกในสังคม เกิดการยอมรับซึ่งกันและกัน ถือเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะทำให้ทุกคนสามารถดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุข
          อธิวัฒน์ พรหมจันทร์ (
https://www.gotoknow.org/posts/545771 )ได้กล่าวว่าการศึกษาแบบเรียนรวม หมายถึง การรับเด็กเข้ารับการศึกษาโดยไม่แบ่งแยกความบกพร่องของเด็ก หรือคัดแยกเด็กที่ด้อยว่าเด็กส่วนใหญ่ออกจากชั้นเรียน แต่จะใช้การบริหารจัดการและวิธีการในการให้เด็กเกิดการเรียนรู้และพัฒนาการตามความต้องการ จำเป็นอย่างเหมาะสมเป็นรายบุคคล 
          แนวคิดและปรัชญาของการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม
           การจัดการศึกษาแบบเรียนรวม จะต้องร่วมมือกันระหว่างองค์กรที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชน รวมทั้งผู้ปกครองและชุมชน โดยปลูกฝังด้านจิตสำนึกและเจตคติเกี่ยวกับการจัดการศึกษาให้แก่เด็กทุกคนโดยคำนึงถึงศักยภาพความแตกต่างระหว่างบุคคล หรือความบกพร่องเฉพาะบุคคล ซึ่งจะให้สิทธิเท่าเทียมกันทุกคน โดยไม่เลือกปฏิบัติต่อบุคคลใดเป็นพิเศษเฉพาะ
          ปรัชญาของการศึกษาแบบเรียนรวม
            เกิดจากปรัชญาการศึกษาที่กล่าวไว้ว่า การศึกษาเพื่อทุกคน (
Education for All) เพราะเด็กแต่ละคนจะมีความแตกต่างทั้งในด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์และสังคม ดังนั้นความต้องการของเด็ก ๆ ทุกคนย่อมมีความแตกต่างกันแม้อยู่ในชั้นเรียนเดียวกัน โรงเรียนและครูจึงต้องปรับเปลี่ยนเพื่อให้เด็กทุกคนเรียนรวมกันและได้รับการพัฒนาเต็มศักยภาพของแต่ละบุคคล
          ทฤษฎีของการศึกษาแบบเรียนรวม
            การดำเนินการศึกษาแบบเรียนรวม มีหลักการดังนี้ทำสัญญาร่วมกันในการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม ซึ่งองค์การสหประชาชาติ ได้ประกาศไว้เมื่อปี คริสตศักราช
1995 ให้ทุกประเทศจัดการศึกษาแบบเรียนรวมดำเนินการตามหลักการแบ่งสัดส่วนตามธรรมชาติ ซึ่งในสังคมหรือชุมชนหนึ่ง ๆ จะมีเด็กพิการหรือเด็กพิเศษปะปนอยู่ เด็กทั้งหมดควรอยู่ร่วมกันตามปกติ โดยไม่มีการนำเด็กพิเศษออกจากชุมชนมารวมกันเพื่อรับการศึกษาที่เป็นการขัดแย้งกับธรรมชาตินำบุคลากรทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเด็กมาทำงานร่วมกัน ได้แก่ พ่อแม่ ผู้ปกครอง ของเด็กปกติและเด็กพิเศษ ผู้บริหารโรงเรียน ผู้ช่วยผู้บริหาร ครูประจำชั้น ครูพิเศษ และบุคลากรในชุมชนอื่นๆ พัฒนาเครือข่ายผู้ให้การสนับสนุน ซึ่งครูทุกคนในโรงเรียนจะต้องช่วยกันทำงานไม่ถือว่าเป็นหน้าที่ของคนใดคนหนึ่ง ถ้าหากมีเด็กพิเศษในโรงเรียน รวมทั้งการพบพูดคุยและปรึกษากับผู้ปกครอง จัดให้ผู้ปกครองเด็กพิเศษด้วยกันและผู้ปกครองเด็กปกติพบกันเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันหรือสนับสนุนในเรื่องต่าง ๆ แก่กันจัดให้มีกิจกรรมร่วมกันระหว่างเด็ก ผู้ปกครอง ครู ผู้บริหารและบุคลากรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการใช้ทรัพยากรร่วมกันทั้งในโรงเรียนและในชุมชน รวมทั้งจัดสรรงบประมาณทั้งภาครัฐและเอกชนในกิจกรรมร่วมระหว่างเด็กพิเศษกับเด็กปกติจัดการปรับเปลี่ยนหลักสูตร เพื่อให้เกิดความเหมาะสมและครอบคลุมถึงเด็กพิเศษทุกคนในกลุ่มเด็กปกติจัดให้มีความยืดหยุ่นในทุกสถานการณ์ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่เด็กพิเศษและเด็กปกติทุกคน
          หลักการการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม
            แผนการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมการเรียนรู้ของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ลักษณะความแตกต่างกันระหว่างบุคคลมีผลต่อระดับความสำเร็จในการเรียนรู้ ทั้งนี้เพราะการเรียนรู้เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปจากเดิมเพื่อไปสู่พฤติกรรมใหม่ที่ค่อนข้างถาวร อันเป็นผลมาจากประสบการณ์ หรือการฝึกฝน ซึ่งการเรียนรู้ของคนเราอาศัยประสาทสัมผัส ได้แก่ หู ตา จมูกลิ้น กาย ใจ เป็นองค์ประกอบหลักของการเรียนรู้และการรับรู้ หากมีส่วนใดส่วนหนึ่งสูญเสีย หรือบกพร่องไปย่อมมีผลต่อการเรียนรู้ และการรับรู้ตามไปด้วย ทำให้การเรียนรู้ของเด็กต้องล้มเหลว เรียนไม่ได้ดีเท่าที่ควรหรือเกิดข้อขัดข้องเสียก่อน ซึ่งอาจจัดเป็นองค์ประกอบใหญ่ ๆ ได้
3 ประการ
          1. องค์ประกอบด้านสรีรวิทยา ได้แก่ สาเหตุที่สืบเนื่องมาจากการทำงานผิดปกติของระบบการทำงานของร่างกาย เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับปัญหาทางร่างกายของเด็กเอง
          2. องค์ประกอบด้านจิตวิทยา ได้แก่ สติปัญญา อัตราเร็วของการเรียนรู้ ความรู้สึกนึกคิดเกี่ยวกับตนเอง การปรับตัวทางอารมณ์และสังคม ความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวและเพื่อน
          3. องค์ประกอบด้านสภาพแวดล้อม ตลอดจนประสบการณ์ต่าง ๆ เด็กที่มีความต้องการพิเศษย่อมได้รับผลกระทบต่อการเรียนรู้ในด้าน ต่าง ๆ และหากเป็นเด็กที่มีความบกพร่องทางด้านต่าง ๆ ซ้อนจะมีผลกระทบต่อการเรียนรู้มากขึ้นไปอีก ซึ่งแยกพิจารณาถึงผลกระทบของความบกพร่องที่มีต่อการเรียนรู้ของเด็กที่มีความต้องการแต่ละประเภท ดังนี้
         1. เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา                
        
2. เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
         3. เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น                    
        
4. เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
         5. เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา      
         6. เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
         7. เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้                            
         8. การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
 https://docs.google.com/presentation/d/1k9Vs6hE8BXzc3ARmOPvg329JPGcqUHbSKE87o-m7604/embed?slide=id.i0#slide=id.i56 ได้รวบรวบและกล่าวว่า การจัดการเรียนรวม สำหรับเด็กพิเศษที่เข้าเรียนรวมกับเพื่อนๆปกติแบบเคียงบ่าเคียงไหล่กันไปจะส่งผลให้เด็กเรียนรู้ที่จะยอมรับซึ่งกันและกัน เด็กจะเข้าใจความเหมือนและการไม่เหมือนในการอยู่ร่วมกัน เด็กปกติเรียนรู้ที่จะยอมรับความพิการของเพื่อน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเขา การยอมรับความพิการ การไร้ความสามารถ จึงเป็นเร่องจำเป็น นอกจากนี้เด็กที่เรียนรวมนั้นจะได้รับประโยชน์จากการร่วมมือและความรู้สึกรับผิดชอบที่จะพัฒนาไปด้วยกันในชั้นเรียน การมีปฏิสัมพันธ์เช่นนี้จะส่งผลให้มีการยอมรับซึ่งกันและกัน รู้สึกและตระหนักถึงความพิการได้ ซึ่งสิ่งนี้เป็นเรื่องสำคัญเมื่อเด็กเหล่านี้ย่างเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ อย่างไรก็ตามเด็กที่เรียนในระบบ “Inclusion” ยังคงต้องได้รับการบริการศึกษาพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นครูพิเศษ สื่อสิ่งอำนวยความสะดวกและบริการทางการศึกษาพิเศษต่อเนื่องกันไป การเรียนในระบบนี้มิได้หมายความว่าจะลดบริการพิเศษต่างๆลงหากเพียงแต่มีการเปลี่ยนวิธีการจัดการและการให้บริการ
        ทฤษฎีพื้นฐานของการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม
         
1. การจัดการเรียนรวมให้กับเด็กพิการหรือมีความบกพร่องนั้นจะทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อมีการจัดให้นักเรียนได้เรียนในสภาพแวดล้อมที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด (The Least Restrictive Environment : LRE )
          2. การจัดการเรียนรวมต้องอาศัยการทำงานร่วมกันของผู้เชี่ยวชาญหลายสาขาอาชีพ (Transdisciplinary Team) และพ่อแม่หรือผู้ปกครองในลักษณะการรวมพลัง (Collaboration)
         
3. การจัดให้นักเรียนพิการที่มีความแตกต่างเฉพาะบุคคลเข้าเรียนร่วมกับเด็กทั่วไปนั้นต้องอาศัยแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program : IEP)
สรุป
          การศึกษาแบบเรียนรวมนั้น หมายถึง การรับเด็กเข้ารับการศึกษาโดยไม่แบ่งแยกความบกพร่องของเด็ก และวิธีการในการให้เด็กเกิดการเรียนรู้และพัฒนาการตามความต้องการ จำเป็นอย่างเหมาะสมเป็นรายบุคคล  โดยแนวคิดและปรัชญาของการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม การจัดการศึกษาแบบเรียนรวม จะต้องร่วมมือกันระหว่างองค์กรที่เกี่ยวข้อง โดยปลูกฝังด้านจิตสำนึกและเจตคติเกี่ยวกับการจัดการศึกษาให้แก่เด็กทุกคนโดยคำนึงถึงศักยภาพความแตกต่างระหว่างบุคคล ไม่เลือกปฏิบัติต่อบุคคลใดเป็นพิเศษเฉพาะ หลักการการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมโดยมีแผนการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมตามการเรียนรู้ของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ลักษณะความแตกต่างกันระหว่างบุคคล ซึ่งอาจจัดเป็นองค์ประกอบใหญ่ ๆ ได้
3 ประการ1. องค์ประกอบด้านด้านสรีรวิทยา 2. องค์ประกอบด้านจิตวิทยา และ3. องค์ประกอบด้านสภาพแวดล้อม
 นอกจากนี้เด็กที่เรียนรวมนั้นจะได้รับประโยชน์จากการร่วมมือและความรู้สึกรับผิดชอบที่จะพัฒนาไปด้วยกันในชั้นเรียน การมีปฏิสัมพันธ์เช่นนี้จะส่งผลให้มีการยอมรับซึ่งกันและกัน และในการจัดการเรียนรวมนั้นมีประโยชน์มากมาย ได้แก่ เด็กที่มีความต้องการพิเศษได้รับการยอมรับจากเพื่อนและบุคคลรอบข้างมากขึ้น ปกติได้เรียนรู้จากชีวิตจริงว่ามีคนที่มีความแตกต่างจากตนเองและเข้าใจสภาพความแตกต่างระหว่างบุคคล ผู้ปกครองเด็กที่มีความต้องการพิเศษ มีความเครียด ความวิตกกังวล ความอาย ลดลง และรู้สึกว่าตนเองไม่ได้อยู่โดดเดี่ยว ผู้ปกครองเด็กปกติ ได้เรียนรู้การเป็นผู้ให้และผู้รับ และ ชุมชนหรือสังคม ทำให้ไม่เกิดการแบ่งแยกในสังคม เกิดการยอมรับซึ่งกันและกัน
ที่มา
ณิชาภัทร ศรีนฤวรรณ .
[online] https://www.gotoknow.org/posts/197570. ประโยชน์
        ของการเรียนรวม
.สืบค้นเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2558.
อธิวัฒน์ พรหมจันทร์. [online]
https://www.gotoknow.org/posts/545771. การบูรณาการ
        เรียนรู้แบบเรียนรวม
.สืบค้นเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2558.
https://docs.google.com/presentation/d/1k9Vs6hE8BXzc3ARmOPvg329JPGcqUHbSKE87o-m7604/embed?slide=id.i0#slide=id.i56 . ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการศึกษา
         แบบเรียนรวม
.
สืบค้นเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2558.



การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

         ยาเบ็น เรืองจรูญศรี ( http://www.kroobannok.com/blog/39847 ) ได้รวบรวมและกล่าวเกี่ยวกับการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางว่า การเรียนรู้โดยมีผู้เรียนเป็นศูนย์กลางมีแนวคิดมาจากแนวคิดของ จอห์น  ดิวอี้ (John Dewey) ซึ่งเป็นต้นคิดในเรื่องของการเรียนรู้โดยการกระทำ หรือ learning by doing ทฤษฎีนี้เป็นที่ยอมรับทั่วโลก ซึ่งรูปแบบของการจัดการเรียนการสอนโดยให้ผู้เรียนเป็นผู้ลงมือปฏิบัติ โดยเปลี่ยนบทบาทจาก ผู้รับมาเป็น ผู้เรียน”  และ บทบาทของ ครูเป็น ผู้ถ่ายทอดข้อมูล มาเป็น ผู้จัดประสบการณ์การเรียนรู้”  ให้ผู้เรียนได้ปรับบทบาทนี้ เท่ากับเป็นการเปลี่ยนจุดการเรียนรู้ ความหมายของการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
   นักวิชาการหลายท่านได้ให้ความหมายของการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ดังนี้
          ชนาธิป พรกุล (
2543; 50) ได้ให้ความหมายว่า การเรียนรู้ที่เกิดจากการคิด การค้นคว้า การทดลอง และการสรุปเป็นความรู้โดยตัวผู้เรียนเอง ผู้สอนจะเปลี่ยนบทบาทหน้าที่จากการถ่ายทอดความรู้มาเป็นผู้วางแผน จัดการ ชี้แนะ และอำนวยความสะดวกให้กับผู้เรียน ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จึงหมายถึง การจัดการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง
          ทิศนา แขมมณี (
2548 : 120 ) กล่าวว่า กระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็นการจัดการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นตัวตั้ง โดยคำนึงถึงความเหมาะสมกับผู้เรียนและประโยชน์สูงสุดที่ผู้เรียนควรจะได้รับ และมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีบทบาทสำคัญในการเรียนรู้ ได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้อย่างตื่นตัวและได้ใช้กระบวนการเรียนรู้ต่างๆ อันจะนำผู้เรียนไปสูการเกิดการเรียนรู้ที่แท้จริง
          สำลี รักสุทธี (
2544 : 1) กล่าวว่า การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสำคัญที่สุดคือ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ตามมาตรา 22-24 โดยถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม คือ ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมสร้างสรรค์ กิจกรรมทางการศึกษา ลงมือปฏิบัติจริง ครูเปลี่ยนบทบาทจากการเป็นผู้ชี้บอกให้ความรู้อย่างเดียว เป็นผู้คอยอำนวยความสะดวก คอยช่วยเหลือแนะนำ รวมทั้งเป็นที่ปรึกษาให้กับนักเรีย
          บรรพต สุวรรณประเสริฐ (
2544 : 5) กล่าวว่า กระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสำคัญที่สุดหมายถึง การกำหนดจุดหมาย สาระ กิจกรรม แหล่งเรียนรู้ สื่อการเรียน และการประเมินผลที่มุ่งพัฒนา คนและ ชีวิตให้เกิดประสบการณ์การเรียนรู้เต็มตามความสามารถ สอดคล้องกับความถนัด ความสนใจและความต้องการของผู้เรียน
          พิมพ์พันธ์ เตชะคุปต์ (
2542 : 35) กล่าวว่า การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนใช้กระบวนการสร้างความรู้ด้วยตนเอง เป็นการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมอย่างกระฉับกระเฉงเกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมายเป็นวิธีการที่ให้อำนาจแก่ผู้เรียน ซึ่งจะนำไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต
          วัฒนาพร ระงับทุกข์ (
2542 : 4) กล่าวว่า การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางคือ การจัดการเรียนการสอนที่ให้ความสำคัญกับผู้เรียนส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักเรียนรู้ด้วยตนเอง เรียนในเรื่องที่สอดคล้องกับความสามารถและความต้องการของตนเองและได้พัฒนาศักยภาพของตนเองได้เต็มที่
          วชิราพร อัจฉริยโกศล (
2548) กล่าวว่า การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง คือ กระบวนการเรียนรู้ที่ให้อิสระแก่ผู้เรียนในการสำรวจสิ่งที่ศึกษาในด้านที่สนใจ ผลักดันให้หาคำตอบ โดยได้รับการสนับสนุนอย่างเข้าใจจากผู้อำนวยความสะดวก (facilitator) ซึ่งก็คือผู้สอนนั่นเอง เป็นกระบวนการเรียนรู้แบบทั้งตัวบุคคล รวมทั้งสติปัญญา ความคิด และความรู้สึก
          สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (
2543 : 79) กล่าวว่า การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง หมายถึง การจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนรวมในกิจกรรมการเรียนรู้มากที่สุด โดยให้ผู้เรียนเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง ได้คิดเอง ปฏิบัติเอง และมี ปฏิสัมพันธ์กับบุคคลหรือแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย จนสามารถสร้างความรู้ด้วยตนเองและนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิตได้โดยครูเป็นผู้วางแผนร่วมกับผู้เรียน จัดบรรยากาศให้เอื้อต่อการเรียนรู้ กระตุ้น ท้าทาย ให้กำลังใจ และช่วยแก้ปัญหาหรือชี้แนะแนวทางการแสวงหาความรู้ที่ถูกต้องให้แก่ผู้เรียนเป็นรายบุคคล
          อาภรณ์ ใจเที่ยง (
http://www.sut.ac.th/tedu/news/Teaching.htm) ได้กล่าว่าลักษณะของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญได้ดังนี้
          1.
Active Learning เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนเป็นผู้กระทำ หรือปฏิบัติด้วยตนเอง ด้วยความ กระตือรือร้น เช่น ได้คิด ค้นคว้า ทดลองรายงาน ทำโครงการ สัมภาษณ์ แก้ปัญหา ฯลฯ ได้ใช้ ประสาทสัมผัสต่าง ๆ ทำให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างแท้จริง ผู้สอนทำหน้าที่ เตรียมการจัด บรรยากาศการเรียนรู้ จัดสื่อสิ่งเร้าเสริมแรงให้คำปรึกษาและสรุปสาระการเรียนรู้ร่วมกัน
          2.
Construct เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนได้ค้นพบสาระสำคัญหรือองค์การความรู้ใหม่ด้วยตนเอง อันเกิด จากการได้ศึกษาค้นคว้าทดลอง แลกเปลี่ยนเรียนรู้และลงมือปฏิบัติจริง ทำให้ ผู้เรียนรักการอ่าน รักการศึกษาค้นคว้าเกิดทักษะในการแสวงหาความรู้ เห็นความสำคัญของการเรียนรู้ ซึ่งนำไปสู่ การเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ (Learning Man) ที่พึงประสงค์
          3.
Resource เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนได้เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ที่หลากหลายทั้งบุคคลและ เครื่องมือทั้งในห้องเรียน และนอกห้องเรียน ผู้เรียนได้สัมผัสและสัมพันธ์ กับสิ่งแวดล้อมทั้งที่ เป็นมนุษย์ (เช่น ชุมชน ครอบครัว องค์กรต่าง ๆ) ธรรมชาติและเทคโนโลยี ตามหลักการที่ว่า การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลาและทุกสถานการณ์)
          4.
Thinking เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมกระบวนการคิด ผู้เรียนได้ฝึกวิธีคิดในหลายลักษณะ เช่น คิดคล่อง คิดหลากหลาย คิดละเอียด คิดชัดเจน คิดถูก ทางคิดกว้าง คิดลึกซึ้ง คิดไกล คิดอย่างมีเหตุผล เป็นต้น (ทิศนา แขมมณี และคณะ, 2543 : 55-59) การฝึกให้ผู้เรียนได้คิดอยู่เสมอในลักษณะ ต่าง ๆ จะทำให้ผู้เรียนเป็นคนคิดเป็น แก้ปัญหาเป็น คิดอย่างรอบคอบมีเหตุผล มีวิจารณญาณ ในการคิด มีความคิดสร้างสรรค์ มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ที่จะเลือกรับและปฏิเสธข้อมูล ข่าวสารต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม ตลอดจนสามารถแสดงความคิด เห็นออกได้อย่างชัดเจนและมี เหตุผลอันเป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตประจำวัน
          5.
Happiness เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนได้เรียนอย่างมีความสุข เป็นความสุขที่เกิดจาก ประการที่หนึ่ง ผู้เรียนได้เรียนในสิ่งที่ตนสนใจสาระการเรียนรู้ ชวนให้สนใจใฝ่ค้นคว้าศึกษาท้าทาย ให้แสดง ความสามารถและให้ใช้ศักยภาพของตนอย่างเต็มที่ ประการที่สองปฏิสัมพันธ์ (Interaction) ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนและระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน มีลักษณะเป็นกัลยาณมิตร มีการช่วยเหลือ เกื้อกูลซึ่งกันและกัน มีกิจกรรมร่วมด้วยช่วยกัน ทำให้ผู้เรียนรู้สึกมีความสุขและสนุกกับการเรียน
          6.
Participation เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการวางแผนกำหนดงาน วางเป้าหมายร่วมกัน และมีโอกาสเลือกทำงานหรือศึกษาค้นคว้าในเรื่องที่ตรงกับความถนัดความสามารถ ความสนใจ ของตนเอง ทำให้ผู้เรียนเรียนด้วยความกระตือรือร้น มองเห็นคุณค่าของสิ่งที่เรียนและสามารถ ประยุกต์ความรู้นำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตจริง
          7.
Individualization เป็นกิจกรรมที่ผู้สอนให้ความสำคัญแก่ผู้เรียนในวามเป็นเอกัตบุคคล ผู้สอนยอมรับในความสามารถ ความคิดเห็น ความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน มุ่งให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองให้เต็มศักยภาพมากกว่าเปรียบเทียบแข่งขันระหว่างกันโดยมีความเชื่อมั่นผู้เรียนทุกคนมีความสามารถในการเรียนรู้ได้ และมีวิธีการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน
          8.
Good Habit เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนไดพัฒนาคุณลักษณะนิสัยที่ดีงาม เช่น ความรับผิดชอบ ความเมตตา กรุณา ความมีน้ำใจ ความขยัน ความมีระเบียบวินัย ความเสียสละ ฯลฯ และ ลักษณะนิสัยในการทำงานอย่างเป็นกระบวนการการทำงานร่วมกับผู้อื่น การยอมรับผู้อื่น และ การเห็นคุณค่าของงาน เป็นต้น
        
http://www.agri.kmitl.ac.th/km/knowledge/?p=126 ได้รวบรวมและกล่าวว่า แนวคิดของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Learner-centered, Student-centred หรือ Child-centered) จึงเป็นการปฏิรูปการศึกษาที่เปลี่ยนมายึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยมีหลักการว่า กระบวนการจัดการเรียนการสอนต้องเน้นให้ผู้เรียนสามารถแสวงหาความรู้ และพัฒนาความรู้ได้ตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพของตนเอง รวมทั้งสนับสนุนให้มีการฝึกและปฏิบัติในสภาพจริงของการทำงาน มีการเชื่อมโยงสิ่งที่เรียนกับสังคมและการประยุกต์ใช้ มีการจัดกิจกรรมและกระบวนการให้ผู้เรียนได้คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินและสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ โดยไม่เน้นไปที่การท่องจำเพียงเนื้อหา
สรุป
          จากการศึกษาการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางนำมาสรุปได้ว่า เรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางนั้นกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ให้ความสำคัญกับผู้เรียน เน้นให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการ คิดริเริ่ม แสวงหา วิเคราะห์ จัดการความรู้ และลงมีปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ด้วยตัวเองตามความต้องการและความสนใจ  และสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ ซึ่งมีแนวคิดมาจากแนวคิดของ จอห์น  ดิวอี้ (
John Dewey) รูปแบบของการจัดการเรียนการสอนโดยให้ผู้เรียนเป็นผู้ลงมือปฏิบัติ โดยเปลี่ยนบทบาทจาก ผู้รับมาเป็น ผู้เรียน”  และ บทบาทของ ครูเป็น ผู้ถ่ายทอดข้อมูล มาเป็น ผู้จัดประสบการณ์การเรียนรู้”  ให้ผู้เรียนได้ปรับบทบาทนี้ เท่ากับเป็นการเปลี่ยนจุดการเรียนรู้ โดยมีลักษณะของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญได้ดังนี้ 1. Active Learning เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนเป็นผู้กระทำ 2. Construct เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนได้ค้นพบสาระสำคัญหรือองค์การความรู้ใหม่ด้วยตนเอง 3. Resource เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนได้เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ที่หลากหลาย 4. Thinking เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมกระบวนการคิด ผู้เรียนได้ฝึกวิธีคิดในหลายลักษณะ 5. Happiness เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนได้เรียนอย่างมีความสุข 6. Participation เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการวางแผนกำหนดงาน วางเป้าหมายร่วมกัน 7. Individualization เป็นกิจกรรมที่ผู้สอนให้ความสำคัญแก่ผู้เรียนในความเป็นเอกัตบุคคล และ8. Good Habit เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนไดพัฒนาคุณลักษณะนิสัยที่ดีงาม
ที่มา

ยาเบ็น เรืองจรูญศรี.[online]  http://www.kroobannok.com/blog/39847 . การจัดการเรียนรู้ที่เน้น
       ผู้เรียนเป็นสำคัญ.
สืบค้นเมื่อวันที่
9 กันยายน 2558.
อาภรณ์ ใจเที่ยง.[online] http://www.sut.ac.th/tedu/news/Teaching.htm. การจัดกิจกรรมการ
       เรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ.
สืบค้นเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2558.

http://www.agri.kmitl.ac.th/km/knowledge/?p=126 . การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็น
       สำคัญ
.
สืบค้นเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2558.