วันจันทร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบ TGT (Teams – Games -Tournaments)

     มีนกร (https://www.gotoknow.org/posts/401180 )ได้รวบรวมกระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ TGT (Team GamesTournaments) ว่าTGT เป็นกระบวนการเรียนที่เป็นการนำเสนอเนื้อหาหรือบทเรียนใหม่  รูปแบบการนำเสนออาจจะเป็นการบรรยาย  อภิปราย  กรณีศึกษาหรืออาจจะมีสื่อการเรียนรู้อื่นๆ  ประกอบด้วยก็ได้  เทคนิค TGT  จะแตกต่างจากเทคนิคอื่นๆ  ตรงที่ผู้สอนต้องเน้นให้ผู้เรียนทราบว่าผู้เรียนต้องให้ความสนใจมากในเนื้อหาสาระ  เพราะจะช่วยให้ทีมประสบความสำเร็จในการแข่งขัน  วิธีนี้เหมาะสมกับการเรียนรู้ในวิชาพื้นฐานที่สามารถถามตอบที่มีคำตอบที่แน่นนอนตายตัว  แต่ไม่เหมาะกับบางวิชา
     ประภัสรา โคตะขุน (https://sites.google.com/site/prapasara/11-2) ได้รวบรามการจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือตามรูปแบบ TGT เป็นการเรียนแบบร่วมมือกันแข่งขันทำกิจกรรม โดยมีขั้นตอนการจัดกิจกรรมดังนี้
      ขั้นที่ 1 ครูทบทวนบทเรียนที่เรียนมาแล้วครั้งก่อน ด้วยการซักถามและอธิบาย ตอบข้อสงสัยของนักเรียน  
      ขั้นที่ 2 จัดกลุ่มแบบคละกัน (
Home Team) กลุ่ม 3-4 คน   
      ขั้นที่ 3 แต่ละทีมศึกษาหัวข้อที่เรียนในวันนี้จากแบบฝึก (
Worksheet And Answer Sheet) นัก เรียนแต่ละคนทำหน้าที่และปฏิบัติตามกติกาของ Cooperative Learning เช่น เป็นผู้จดบันทึก ผู้คำนวณ ผู้สนับสนุน เมื่อสมาชิกทุกคนเข้าใจและสามารถทำแบบฝึกหัดได้ถูกต้องทุกข้อ ทีมจะเริ่มทำการแข่งขันตอบปัญหา     
      ขั้นที่ 4 การแข่งขันตอบปัญหา (
Academic Games Tournament)               
            4.1 ครูทำหน้าที่เป็นผู้จัดการห้องเรียน โดยแบ่งตามความสามารถของนักเรียน เช่น
                โต๊ะที่ 1 เป็นโต๊ะแข่งขันสำหรับนักเรียนที่มีความสามารถเก่งมาก                   
                โต๊ะที่ 2 และ 3 เป็นโต๊ะแข่งขันสำหรับนักเรียนที่มีความสามารถปานกลาง
                โต๊ะที่ 4 เป็นโต๊ะที่แข่งขันสำหรับนักเรียนที่มีความสามารถอ่อน          
            4.2 ครูแจกซองคำถามจำนวน 10 คำถามให้ทุกโต๊ะ (เป็นคำถามเหมือนกัน)              
            4.3 นักเรียนเปลี่ยนกันหยิบซองคำถามทีละ 1 ซอง (1 คำถาม) แล้ววางลงกลางโต๊ะ
            4.4 นักเรียน 3 คนที่เหลือคำนวณหาคำตอบ จากคำถามที่ อ่าน              
            4.5 เขียนคำตอบลงในกระดาษคำตอบที่แต่ละคนมีอยู่              
            4.6 นักเรียนคนที่ทำหน้าที่อ่านคำถามจะเป็นคนให้คะแนน โดยมีกติกาการให้คะแนน ดังนี้
                4.6.1 ผู้ตอบถูกเป็นคนแรก จะได้ 2 คะแนน         
                4.6.2 ผู้ตอบถูกคนต่อไป จะได้คนละ 1 คะแนน              
                4.6.3 ถ้าตอบผิด ให้ 0 คะแนน               
            4.7 ทำขั้นตอนที่ 4.3 - 4.5 โดยผลัดกันอ่านคำถามจนกว่าคำถามจะหมด          
            4.8 นักเรียนทุกคนรวมคะแนนของตัวเอง โดยที่ทุกคนควรได้ตอบคำถามจำนวนเท่าๆ กัน จัดลำดับของคะแนนที่ได้ ซึ่งกำหนดโบนัสของแต่ละโต๊ะดังนี้โบนัส ผู้ที่ได้คะแนนสูงสุดที่ 1ประจำโต๊ะแต่ละโต๊ะ จะได้โบนัส 10 แต้ม ผู้ที่ได้คะแนนรองที่ 2 ประจำโต๊ะแต่ละโต๊ะ จะได้โบนัส 8 แต้ม ผู้ที่ได้คะแนนรองที่ 3 ประจำโต๊ะแต่ละโต๊ะ จะได้โบนัส 6 แต้ม ผู้ที่ได้คะแนนน้อยที่สุด ประจำโต๊ะแต่ละโต๊ะ จะได้โบนัส 4 แต้ม ขั้นที่ 5นักเรียนกลับมากลุ่มเดิม (
Home Team) รวมแต้มโบนัสของทุกคน ทีมใดที่มีแต้มโบนัสสูงสุด จะให้รางวัลหรือติดประกาศไว้ในมุมข่าวของห้อง
 เทคนิค
TGT (Team - Games – Tournament)
      
เทคนิคการจัดกิจกรรม TGT เป็นเทคนิครูปแบบหนึ่งในการสอนแบบร่วมมือและมีลักษณะของกิจกรรมคล้ายกันกับ STAD แต่เพิ่มเกมและการแข่งขันเข้ามาด้วย เหมาะสำหรับการจัดการเรียนการสอนในจุดประสงค์ที่มีคำตอบถูกต้องเพียงคำตอบเดียว
องค์ประกอบ 4 ประการ ของ
TGT
     
1. การสอน เป็นการนำเสนอความคิดรวบยอดใหม่หรือบทเรียนใหม่ อาจเป็นการสอนตรงหรือจัดในรูปแบบของการอภิปราย หรือกลุ่มศึกษา
    
2. การจัดทีม เป็นขั้นตอนการจัดกลุ่ม หรือจัดทีมของนักเรียน โดยจัดให้คละกันทั้งเพศ และความสามารถและทีมจะต้องช่วยกันและกัน ในการเตรียมความพร้อมและความเข้มแข็งให้สมาชิกทุกคน
    
3. การแข่งขัน การแข่งขันมักจัดในช่วงท้ายสัปดาห์หรือท้ายบทเรียน ซึ่งจะใช้คำถามเกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียนมาในข้อ 1 และผ่านการเตรียมความพร้อมของทีมมาแล้วการจัดโต๊ะแข่งขันจะมีหลายโต๊ะ แต่ละโต๊ะจะมีตัวแทนของกลุ่ม/ทีม แต่ละทีมมาร่วมแข่งขัน ทุกโต๊ะการแข่งขันควรเริ่มดำเนินการเพื่อนำไปเทียบหาค่าคะแนนโบนัส
   
4. การยอมรับความสำเร็จของทีม ให้นำคะแนนโบนัสของแต่ละคนในทีมมารวมกันเป็นคะแนนของทีม และหาค่าเฉลี่ยทีมที่มีค่าสูงสุด จะได้รับการยอมรับให้เป็นทีมชนะเลิศ โดยอาจเรียกชื่อทีมที่ได้ชนะเลิศ กับรองลงมา โดยใช้ชื่อเก๋ ๆ ก็ได้ หรืออาจให้นักเรียนตั้งชื่อเอง และควรประกาศผลการแข่งขันในที่สาธารณะด้วย
ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
        1. ครูสอนความคิดรวบยอดใหม่ หรือบทเรียนใหม่ โดยอาจใช้ใบความรู้ให้นักเรียนได้ศึกษา หรือใช้กิจกรรมการศึกษาหาความรู้รูปแบบอื่นตามที่ครูเห็นว่าเหมาะสม
       
2. แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม ๆ ละ 4
5 คน เพื่อปฏิบัติตามใบงาน
       
3. นักเรียนแต่ละกลุ่มเตรียมความพร้อมให้กับสมาชิกในกลุ่มทุกคน เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในบทเรียนและพร้อมที่จะเข้าสู่สนามแข่งขัน 
       
4. แต่ละกลุ่มประเมินความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาของสมาชิกในกลุ่ม โดยอาจตั้งคำถามขึ้นมาเองและให้สมาชิกกลุ่มทดลองตอบคำถาม
       
5. สมาชิกกลุ่มช่วยกันอธิบายเพิ่มเติมในจุดที่บางคนยังไม่เข้าใจ
        6. ครูจัดให้มีการแข่งขัน โดยใช้คำถามตามเนื้อหาในบทเรียน
      
7. จัดการแข่งขันเป็นโต๊ะ โดยแต่ละโต๊ะจะมีตัวแทนของทีมต่าง ๆ ร่วมแข่งขัน อาจให้แต่ละทีมส่ง ชื่อผู้แข่งขันแต่ละโต๊ะมาก่อนและเป็นความลับ
        8. ทุกโต๊ะแข่งขันจะเริ่มดำเนินการแข่งขันพร้อมๆกันโดยกำหนดเวลาให้ 
      
9. เมื่อการแข่งขันจบลง ให้แต่ละโต๊ะจัดลำดับผลการแข่งขัน และให้หาค่าคะแนนโบนัส 
     
10. ผู้เข้าร่วมแข่งขันกลับไปเข้ากลุ่มเดิมของตนพร้อมด้วยนำคะแนนโบนัสไปด้วย
      11. นักเรียนแต่ละกลุ่มนำคะแนนโบนัสของแต่ละคนมารวมกันเป็นคะแนนของทีม หาค่าเฉลี่ย ที่ที่ได้ค่าเฉลี่ย (อาจใช้คะแนนโบนัสรวมกันก็ได้) สูงสุด จะได้รับการยอมรับเป็นทีมชนะเลิศและรองลงไป
      12. ให้ตั้งชื่อทีมชนะเลิศ และรองลงมา
     
13. ครูประกาศผลการแข่งขันในที่สาธารณะ เช่น ปิดประกาศที่บอร์ด ลงข่าวหนังสือพิมพ์หรือประกาศหน้าเสาธง
     เบญจ ใจการุณ
(
https://www.gotoknow.org/posts/303382)ได้ทำการรวบรวมเทคนิคการสอนTGT ไว้ดังนี้ 
บทบาทของครู
     
ในด้านเทคนิคการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ โดยใช้แบบ 
TGT การเรียนการสอนแบบ TGT นั้นป็นการสร้างแรงจูงใจให้นักเรียนสนใจมากขึ้น  มีองค์ประกอบ  3  ประการ  คือ
       
1. ทีม (
Teams) แบ่งนักเรียนออกเป็น 4-5 ทีม แต่ละทีมจะมีนักเรียนหลากหลาย คือ จะมีนักเรียนที่มีทั้งผลสัมฤทธิ์สูง ปานกลาง ต่ำ และเพศคละกัน สมาชิกจะอยู่ในทีมอย่างถาวร แต่ละทีมจะได้รับการฝึกฝนเหมือนกัน  และในทีมจะช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการทบทวนสิ่งที่ครูสอน
       
2. เกม  (
Games)  เกมที่ใช้เป็นการฝึกทักษะ  ซึ่งเน้นที่เนื้อหา หลักสูตร นักเรียนจะได้ตอบปัญหา  เกมบัตรคำ  ซึ่งเน้นกฎเกณฑ์พื้นฐานลำดับก่อน หลัง การแข่งขันที่ยึดเนื้อหาวิชาเป็นหลัก
        
3. การแข่งขัน (
Tournaments) การฝึกในทีมจะมีการแข่งขัน อาจมีอาทิตย์ละ  12  ครั้ง  โดยดูจากผลงาน  นักเรียนจะได้เปรียบเทียบคะแนนของแต่ละทีม ว่าทีมใดคะแนนสูงสุด  ปานกลาง  ต่ำ  คะแนนนี้จะแยกเป็นคะแนนสมาชิกแต่ละคนด้วย
ประเภทของเกม
         
1. เกมพัฒนาการ เป็นเกมแนะนำให้ผู้เล่นได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ
        
2. เกมยุทธวิธี เป็นเกมที่ต้องแก้ปัญหาให้ผู้เล่นสร้างแผนการขึ้นเพื่อจะได้บรรลุจุดประสงค์ 
         3. เกมเสริมแรง เป็นเกมที่ช่วยให้ผู้เล่นได้เรียนรู้ความรู้ต่าง ๆ  และเพิ่มพูนทักษะห้สามารถนำความคิดรวบยอดไปใช้ประโยชน์ได้
        หลักในการนำเกมมาใช้ในกิจกรรมกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ จะใช้เกมได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ครูควรมีหลักดังนี้
       
1.เกมที่นำมาสอน ควรมีลักษณะดังต่อไปนี้         
             
1.ใช้เครื่องมือบ่อย             
             
2.ไม่ต้องเตรียมอะไรมาก         
             
3.ควรเป็นการเล่นที่ส่งเสริมทักษะที่สอน         
             
4.นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วม       
             
5.การเล่นควรเหมาะสมกับวัยของเด็ก         
             6.การปฏิบัติตามกฎกติกา       
            
7.การมีน้ำใจนักกีฬา มารยาท และความยุติธรรม
         2.ผู้สอนต้องสนุกสนานกับการเล่นด้วย
        
3.การเล่นแต่ละครั้งต้องคำนึงถึง
        
4.ใช้เวลาในการอธิบายน้อยที่สุดแต่เข้าใจ เช่น วิธีเล่นเกม หน้าที่ของแต่ละคนพอสังเขป
         5.ควรให้นักเรียนกลุ่มหนึ่งมาแสดงให้เพื่อน ๆ ดูก่อนเพื่อความเข้าใช้
         6.การเล่นแต่ละครั้งอย่าใช้เวลานานเกินไป ประมาณ 10
15 นาที
         7.การเล่น ถ้านักเรียนมากเกินไป ควรแบ่งกลุ่ม
         8.เกมที่เล่นต้องดึงดูดความสนใจ สนุกสนาน และท้าทายความสามารถของผู้เล่น
         
9.เกมนั้นจะต้องสามารถทำให้การเรียนการสอนไปถึงเป้าหมายที่ต้องการได้
สรุป    
     
 จาการศึกษารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบ TGT  (Teams – Games -Tournaments)พบว่าการจัดการเรียนTGT เป็นกระบวนการเรียนที่เป็นการนำเสนอเนื้อหาหรือบทเรียนใหม่  รูปแบบการนำเสนอมีลักษณะเป็นการบรรยาย อภิปราย อาจจะมีสื่อการเรียนรู้อื่นๆ ประกอบด้วยก็ได้  เทคนิค TGT จะแตกต่างจากเทคนิคอื่นๆ ตรงที่ผู้สอนต้องเน้นให้ผู้เรียนทราบว่าผู้เรียนนั้นจะต้องให้ความสนใจมากในเนื้อหาสาระ เพราะจะช่วยให้ทีมประสบความสำเร็จในการแข่งขัน วิธีนี้เหมาะสมกับการเรียนรู้ในวิชาพื้นฐานที่สามารถถามตอบที่มีคำตอบที่แน่นนอนตายตัว แต่ไม่เหมาะกับบางวิชา และเทคนิคการจัดกิจกรรม TGT ยังเป็นเทคนิครูปแบบหนึ่งในการสอนแบบร่วมมือและมีลักษณะของกิจกรรมคล้ายกันกับ STAD แต่เพิ่มเกมและการแข่งขันเข้ามาด้วย เหมาะสำหรับการจัดการเรียนการสอนในจุดประสงค์ที่มีคำตอบถูกต้องเพียงคำตอบเดียว โดยมีขั้นตอนการจัดกิจกรรม ดังนี้
        1. ครูสอนความคิดรวบยอดใหม่ หรือบทเรียนใหม่ โดยอาจใช้ใบความรู้ให้นักเรียนได้ศึกษา หรือใช้กิจกรรมการศึกษาหาความรู้รูปแบบอื่นตามที่ครูเห็นว่าเหมาะสม
      
2. แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม ๆ ละ 4
5 คน เพื่อปฏิบัติตามใบงาน
       3. นักเรียนแต่ละกลุ่มเตรียมความพร้อมให้กับสมาชิกในกลุ่มทุกคน เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในบทเรียนและพร้อมที่จะเข้าสู่สนามแข่งขัน 
     
4. แต่ละกลุ่มประเมินความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาของสมาชิกในกลุ่ม โดยอาจตั้งคำถามขึ้นมาเองและให้สมาชิกกลุ่มทดลองตอบคำถาม
     
5. สมาชิกกลุ่มช่วยกันอธิบายเพิ่มเติมในจุดที่บางคนยังไม่เข้าใจ 
     
6. ครูจัดให้มีการแข่งขัน โดยใช้คำถามตามเนื้อหาในบทเรียน
    
 7. จัดการแข่งขันเป็นโต๊ะ โดยแต่ละโต๊ะจะมีตัวแทนของทีมต่าง ๆ ร่วมแข่งขัน อาจให้แต่ละทีมส่งชื่อผู้แข่งขันแต่ละโต๊ะมาก่อนและเป็นความลับ 
    
 8. ทุกโต๊ะแข่งขันจะเริ่มดำเนินการแข่งขันพร้อมๆกันโดยกำหนดเวลาให้ 
     
9. เมื่อการแข่งขันจบลง ให้แต่ละโต๊ะจัดลำดับผลการแข่งขัน และให้หาค่าคะแนนโบนัส 
    
10. ผู้เข้าร่วมแข่งขันกลับไปเข้ากลุ่มเดิมของตนพร้อมด้วยนำคะแนนโบนัสไปด้วย
    
11. นักเรียนแต่ละกลุ่มนำคะแนนโบนัสของแต่ละคนมารวมกันเป็นคะแนนของทีม หาค่าเฉลี่ย ที่ที่ได้ค่าเฉลี่ย (อาจใช้คะแนนโบนัสรวมกันก็ได้) สูงสุด จะได้รับการยอมรับเป็นทีมชนะเลิศและรองลงไป 
    
12. ให้ตั้งชื่อทีมชนะเลิศ และรองลงมา
    
13. ครูประกาศผลการแข่งขันในที่สาธารณะ เช่น ปิดประกาศที่บอร์ด ลงข่าวหนังสือพิมพ์หรือประกาศหน้าเสาธง
องค์ประกอบ 4 ประการ ของ
TGT
     
1. การสอน เป็นการนำเสนอความคิดรวบยอดใหม่หรือบทเรียนใหม่
     
2. การจัดทีม เป็นขั้นตอนการจัดกลุ่ม หรือจัดทีมของนักเรียน โดยจัดนักเรียนคละกัน
     
3. การแข่งขัน การแข่งขันมักจัดในช่วงท้ายสัปดาห์หรือท้ายบทเรียน
     
4. การยอมรับความสำเร็จของทีม ให้นำคะแนนโบนัสของแต่ละคนในทีมมารวมกันเป็นคะแนนของทีม และหาค่าเฉลี่ยทีมที่มีค่าสูงสุด จะได้รับการยอมรับให้เป็นทีมชนะเลิศ  และควรประกาศผลการแข่งขันในที่สาธารณะด้วย
ประเภทของเกม
      
1. เกมพัฒนาการ เป็นเกมแนะนำให้ผู้เล่นได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ
      
2. เกมยุทธวิธี เป็นเกมที่ต้องแก้ปัญหาให้ผู้เล่นสร้างแผนการขึ้นเพื่อจะได้บรรลุจุดประสงค์
      
3. เกมเสริมแรง เป็นเกมที่ช่วยให้ผู้เล่นได้เรียนรู้ความรู้ต่าง ๆ  และเพิ่มพูนทักษะให้สามารถนำความคิดรวบยอดไปใช้ประโยชน์ได้
ที่มา
เบญจ ใจการุณ.[online] https://www.gotoknow.org/posts/303382. เทคนิคการสอน
        แบบ
 TGT.
สืบค้นเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2558.

ประภัสรา โคตะขุน.[online] https://sites.google.com/site/prapasara/11-2. การจัดการเรียนการ
        สอนแบบ
TGT  (Teams – Games -Tournaments). สืบค้นเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม
         2558.      

มีนกร.[online] https://www.gotoknow.org/posts/401180 . การเรียนรู้แบบร่วมมือคืออะไร.สืบค้น
        เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2558.

วันพฤหัสบดีที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

องค์ประกอบการจัดการเรียนรู้

    อารี พันธ์มณี (2534:88-89) ได้รวบรวมองค์ประกอบการเรียนรู้ของนักจิตวิยาไว้ดังนี้
             ดอลลาร์ด และมิลเลอร์ (Dollard and Miller) กล่าวว่า การเรียนรู้ประกอบด้วยสิ่งต่างๆดังนี้
                 1. แรงขับ (Drive) เกิดขึ้นเมื่ออินทรีย์ (Organism) ขาดสมดุล เช่น ขาดอาหาร ขาดน้ำ ขาดการพักผ่อน ภาวะเหล่านี้จะกระตุ้นให้อินทรีย์แสดงพฤติกรรมเพื่อปรับให้อินทรีย์อยู่ในสภาสมดุลอย่างเดิม แรงขับมีอยู่ 2 ประเภทคือ
                     1.1 แรงขับพื้นฐาน (Primary Drive) เกิดเนื่องจากความต้องการที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิต เป็นความต้องการทางร่างกายต่างๆ ที่เกิดขึ้น พร้อมๆกับการมีชีวิตของคน
                     1.2 แรงขับที่เกิดจากการเรียนรู้ (Secondary Drive) เกิดขึ้นภายหลังเป็นความต้องการทางสังคม เช่น ความรัก ฐานะทางสังคม ความมั่นคงปลอดภัย
                 2. สิ่งเร้า (stimulus) เป็นสิ่งที่กระตุ้นให้อินทรีย์แสดงกิจกรรมโต้ตอบออกมา เป็นตัวกำหนดพฤติกรรมตอบสนองของร่างกาย
                 3. การตอบสนอง (Response) เป็นพฤติกรรมหรือกิจกรรมที่อินทรีย์แสดงออกเมื่อมีสิ่งเร้าไปเร้า
                 4. การเสริมแรง (Reinforcement) เป็นการทำให้สิ่งเร้าและการตอบสนองมีความสัมพันธ์กันมากยิ่งขึ้น เช่น เมื่อนักเรียนทำเลขถูกก็เสริมแรงโดยให้รางวัล การเสริมแรงนี้จะทำให้นักเรียนอยากเรียน(ทำเลข)ในคราวต่อไป
              ชูชีพ อ่อนโคกสูง กล่าวว่า การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้จะต้องมีองค์ประกอบพื้นฐานอย่างน้อยที่สุด 4 ประการด้วยกัน ดังนี้
                 1. แรงจูงใจ (Motive) ในขณะที่มีชีวิตอยู่ ร่างกายย่อมมีความต้องการต่างๆ เมื่อใดที่ร่างกายเกิดความต้องการหรือเกิดความไม่สมดุลขึ้น จะมีแรงขับ (Drive) หรือแรงจูงใจ (Motive) เกิดขึ้นภายในอินทรีย์ผลักดันให้สิ่งที่หายไปนั้นมาให้ร่างกายอยู่ในภาวะพอดี แรงจูงใจเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของการเรียนรู้ เพราะเป็นตัวจักรสำคัญหรือเป็นต้นตอที่แท้จริงของพฤติกรรม
                 2. สิ่งจูงใจ (Incentive) สิ่งจูงใจเป็นสิ่งที่ลดความเครียด และนำไปสู่ความพอใจ นักจิตวิทยาเชื่อว่า สิ่งจูงใจจะเป็นศูนย์กลางหรือหัวใจของการเรียนรู้เขาถือว่าแรงจูงใจซึ่งถือว่าเป็นภาวะภายในของอินทรีย์และกิจกรรมต่างๆ ล้วนเกิดขึ้นจากสิ่งจูงใจทั้งสิ้น
                3. อุปสรรค (A Barrier or Block) นับเป็นพื้นฐานอีกประการหนึ่งของการเรียนรู้ เพราะอุปสรรคหรือสิ่งกีดขวางย่อมทำให้เกิดปัญหา การที่ผู้เรียนเกิดปัญหาจะทำให้ผู้เรียนพยายามทำซ้ำๆ หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เพื่อที่จะฟันฝ่าอุปสรรคนั้นไปสู่เป้าหมายให้ได้
                4. กิจกรรม (Activity) กิจกรรมหรือการตอบสนองของอินทรีย์ เป็นส่วนที่จะทำให้เราทราบว่าใครเกิดการเรียนรู้หรือไม่เพียงใด ช้าหรือเร็วอย่างไร และเป็นสิ่งที่ใช้อ้างอิง (Infer) ไปถึงความรู้สึกนึกคิดทางจิตใจที่ซ่อนเร้นอยู่ เราจะสังเกตเห็นว่าคนเรามักจะชอบประกอบกิจกรรมที่นำความสำเร็จ หรือความพอใจมาให้ซ้ำๆอยู่เสมอ แม้ว่าจะไม่เจอปัญหาใหม่ๆ ส่วนกิจกรรมหรือพฤติกรรมที่ไม่เคยนำความสำเร็จมาให้นั้นมักจะหลีกเลี่ยง
   กมลรัตน์ หล้าสุวงษ์ (2524:133) ได้รวบรวมองค์ประกอบการเรียนรู้ของนักจิตวิทยาไว้ดังนี้
               กาเย่ (Gagne) กล่าวว่าองค์ประกอบสำคัญที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบคือ
                1. ผู้เรียน (The learner) ซึ่งประกอบด้วยอวัยวะรับสัมผัส 5 ชนิด (คือ หู ตา จมูก ลิ้น และกาย) ระบบประสาทส่วนกลาง (A central nervous system) และกล้ามเนื้อ (Muscles)
                2. สิ่งเร้า (Stimulus) หรือสถานการณ์ต่างๆ(a stimulus situation) สิ่งเร้าหมายถึงสิ่งแวดล้อมต่างๆรอบตัวผู้เรียนสำหรับสถานการณ์ต่างๆที่เป็นสิ่งเร้าได้แก่ สถานการณ์หลายๆสถานะที่เกิดขึ้นรอบตัวผู้เรียน
                3. การตอบสนอง (Response) เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นเมื่อได้รับสิ่งเร้า เช่น น.ส. สมศรีห่อริมฝีปาก เมื่อเห็นมะนาว ในที่นี้มะนาวเป็นสิ่งเร้า การห่อปากคือการตอบสนองเพราะเรียนรู้ว่ามะนาวเปรี้ยว ฯลฯ            
    อัชรา เอิบสุขสิริ(2556:) ได้รวบรวมองค์ประกอบการเรียนรู้ของสพรินทอลล์และและสพรินทอลล์ไว้ว่าการจัดการเรียนการสอนให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวจำเป็นต้องคำนึงถึงองค์ประกอบ 4 อย่างได้แก่
               1. ลักษณะของผู้เรียนอันประกอบด้วยลักษณะทางกายภาพ จิตใจ สติปัญญา จริยธรรมค่านิยม แรงจูงใจ พฤติกรรมส่วนตัว พฤติกรรมกลุ่ม ความต้องการพิเศษ เพศ และวัฒนธรรมที่ติดตัวมา
               2. ลักษณะของผู้สอนอันประกอบด้วยเจตคติต่อการเรียนรู้ เจตคติต่อผู้เรียน เจตคติต่อตนเอง และความเข้าใจในงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
               3. กลยุทธ์ในการสอนอันประกอบด้วยการนำทฤษฎีการเรียนรู้มาปฏิบัติจริง วิธีสอนและต้นแบบ วิธีสอนเฉพาะรายบุคคล แผนการสอน เทคนิคที่หลากหลาย วินัยของผู้เรียน การใช้แบบทดสอบ
               4. เนื้อหาวิชาอันประกอบด้วยโครงสร้างที่สำคัญ แนวคิดพื้นฐานของเนื้อหาที่จะสอน ลำดับของเนื้อหา การเลือกเนื้อหาในการสอน ระดับความสำคัญของเนื้อหาแต่ละส่วน ฯลฯ

สรุป
     จากการศึกองค์ประกอบของการเรียนรู้สามารถนำมาสรุปได้ว่าการเรียนรู้นั้นจะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก ได้แก่ ผู้เรียนมีความพร้อมในการเรียนรู้ ผู้สอนมีความพร้อมในการจัดการเรียนรู้ จัดเทคนิคและเนื้อหาให้เหมาะกับผู้เรียนเพื่อนเป็นแรงจูงใจให้กับผู้เรียนและสร้างสิ่งสูงใจเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความพอใจที่จะเรียนรู้มากขึ้น โดยใช้สิ่งเร้าที่อยู่รอบๆตัวผู้เรียน การตอบสนองหรือการจัดกิจกรรมให้กับผู้เรียนเพื่อเป็นการตอบสนองต่อสิ่งเร้า และการเสริมแรงเพื่อทำให้สิ่งเร้าและการตอบสนองมีความสัมพันธ์กันมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังจะต้องมีการสร้างอุปสรรคให้กับผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนได้รู้จักการพยามยามและสนใจที่จะทำซ้ำๆเพื่อที่จะผ่านอุปสรรคไปให้ได้

ที่มา
กมลรัตน์ หล้าสุวงษ์.(2524).จิตวิทยาการศึกษา.กรุงเทพมหานคร:มหามงกุฏราชวิทยาลัย.
อัชรา เอิบสุขสิริ.(2556).จิตวิยาสำหรับครู.กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อารี พันธ์มณี.(2534).จิตวิทยาการเรียนการสอน.กรุงเทพฯ:บริษัท ต้นอ้อ จำกัด.