วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ความสำคัญของการเรียนรู้

        เดโช สวนานนท์ (2503:159) ได้กล่าวถึงความสำคัญของการเรียนรู้ไว้ว่า การเรียนรู้เป็นพื้นฐานของการดำรงชีวิต ทุกคนเกิดมาจะต้องเรียน เขาจะต้องเรียนรู้โดยสิ่งแวดล้อมรอบตัวเขาเองบ้าง เขาอาจจะต้องเรียนจากบิดามารดาและญาติพี่น้องบ้าง และจากโรงเรียนอีกบ้าง พฤติกรรมเกือบของมนุษย์ การเดินก็ดี การรับประทานอาหารก็ดี ความรักก็ดี ความทะเยอทะยานก็ดี ความกลัวก็ดี และอื่นๆอีกมากต่อมาก ล้วนแล้วเป็นพฤติกรรมที่มนุษย์เสาะหามาโดยการเรียนรู้ไม่แบบใดก็แบบหนึ่ง
        ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์ (2548:29) ได้กล่าวถึงความสำคัญของการเรียนรู้ไว้ว่า การดำรงชีวิตของคนเราในปัจจุบัน ต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่างประกอบเพื่อตัวเราเอง จะอยู่อย่างมีความสุขตามสภาพแวดล้อมของตน ส่วนหนึ่งของการปรับตัวให้เข้ากับสภาพของสังคมนั้น ก็คือการเรียนรู้
          http://www.crc.ac.th/online/75107/psychology2.ppt ได้รวบรวมความสำคัญของการเรียนรู้ไว้ว่า “การเรียนรู้เป็นพื้นฐานของการดำรงชีวิต มนุษย์มีการเรียนรู้ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงก่อนตาย ไม่มีใครแก่เกินที่จะเรียน No one old to lern การเรียนรู้จะช่วยให้พัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น

สรุป
      จากการศึกษาความสำคัญของการเรียนรู้ทำให้เห็นว่า การเรียนรู้นั้นเป็นหัวใจและเป็นพื้นฐานของการดำรงชีวิต คนเราทุกคนเกิดมาต่างก็ต้องเรียนรู้ตามสภาพแวดล้อมของตนเอง เพื่อที่จะได้ปรับตัวให้เข้ากับสภาพของสังคม ซึ่งคนเราจะเรียนรู้ตลอดชีวิตไม่มีใครแก่เกินที่จะเรียนรู้ เพราะการเรียนรู้จะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น


ที่มา
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์.(2548).จิตวิทยาการศึกษา.กรุงเทพ : ศูนย์ส่งเสริมกรุงเทพ.
เดโช สวนานนท์.(2503).จิตวิทยาสำหรับครูและผู้ปกครอง.กรุงเทพ:โอเดียนสโตร์.
http://www.crc.ac.th/online/75107/psychology2.ppt .การเรียนรู้. สืบค้นเมื่อวันที่        
        22 มิถุนายน 2558.

วันพุธที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ความหมายของการเรียนรู้

           Bruner (https://www.l3nr.org/posts/478955)  ได้ให้คำจำกัดความของการเรียนรู้ว่า การเรียนรู้คือกระบวนการที่ทำให้คนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ความคิด คนสามารถเรียนรู้ได้จากการได้ยินการสัมผัส การอ่าน การใช้เทคโนโลยี การเรียนรู้ของเด็กและผู้ใหญ่จะต่างกัน เด็กจะเรียนรู้ด้วยการเรียนในห้อง การซักถาม ผู้ใหญ่มักเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ที่มีอยู่ แต่การเรียนรู้จะเกิดขึ้นจากประสบการณ์ที่ผู้สอนนำเสนอ โดยการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน ผู้สอนจะเป็นผู้ที่สร้างบรรยากาศทางจิตวิทยาที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ ที่จะให้เกิดขึ้นเป็นรูปแบบใดก็ได้เช่น ความเป็นกันเอง ความเข้มงวดกวดขัน หรือความไม่มีระเบียบวินัย สิ่งเหล่านี้ผู้สอนจะเป็นผู้สร้างเงื่อนไข และสถานการณ์เรียนรู้ให้กับผู้เรียน ดังนั้น ผู้สอนจะต้องพิจารณาเลือกรูปแบบการสอน รวมทั้งการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน ”     
     บ้านจอมยุทธ (http://www.baanjomyut.com/library_2/psychology_of_learning/01.html) ได้รวบรวมให้คำจำกัดความของการเรียนรู้ไว้ดังนี้
        คิมเบิล ( Kimble , 1964 ) "การเรียนรู้ เป็นการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างถาวรในพฤติกรรม อันเป็นผลมาจากการฝึกที่ได้รับการเสริมแรง"
         ฮิลการ์ด และเบาเวอร์ ได้ให้คำจำกัดความของการเรียนรู้ว่า  “การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่ทำให้พฤติกรรมเปลี่ยนแปลง อันเป็นผลมาจากประสบการณ์และการฝึก ทั้งนี้ไม่รวมถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เกิดจากการตอบสนองตามสัญชาตญาณ ฤทธฺ์ของยา หรือสารเคมี หรือปฏิกิริยาสะท้อนตามธรรมชาติของมนุษย์  ” 
         คอนบาค ( Cronbach ) "การเรียนรู้ เป็นการแสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลง อันเป็นผลเนื่องมาจากประสบการณ์ที่แต่ละบุคคลประสบมา "
         พจนานุกรมของเวบสเตอร์ (Webster 's Third New International Dictionary) "การเรียนรู้ คือ กระบวนการเพิ่มพูนและปรุงแต่งระบบความรู้ ทักษะ นิสัย หรือการแสดงออกต่างๆ อันมีผลมาจากสิ่งกระตุ้นอินทรีย์โดยผ่านประสบการณ์ การปฏิบัติ หรือการฝึกฝน"
         ประดินันท์ อุปรมัย (2540, ชุดวิชาพื้นฐานการศึกษา(มนุษย์กับการเรียนรู้) : นนทบุรี, พิมพ์ครั้งที่ 15, หน้า 121) การเรียนรู้คือการเปลี่ยนแปลงของบุคคลอันมีผลเนื่องมาจากการได้รับประสบการณ์ โดยการเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นเหตุทำให้บุคคลเผชิญสถานการณ์เดิมแตกต่างไปจากเดิม ประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหมายถึงทั้งประสบการณ์ทางตรงและประสบการณ์ทางอ้อม
      อัชรา เอิบสุขสิริ (2556:108) ได้กล่าว่า การเรียนรู้เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันเนื่องมาจากประสบการณ์หรือการฝึกฝน
     
สรุป
          จากการศึกษาความหมายการเรียนรู้ สามารถนำมาสรุปได้ว่า การเรียนรู้คือ กระบวนการเปลี่ยนแปลงทางด้านพฤติกรรม ความคิด ซึ่งเป็นการแสดงถึงความสามารถที่มีผลมาจากประสบการณ์ต่างๆ และการเสริมแรงที่แต่ละบุคคลได้รับ แต่ไม่ใช่เป็นการตอบสนองที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ โดยสังเกตได้จากการฟัง อ่าน สัมผัส และการใช้เทคโนโลยี แล้วทำให้มีความรู้ มีความเข้าใจในสิ่งที่ตนเองได้รับมากขึ้น แสดงว่าคนนั้นมีการเรียนรู้ที่สมบูรณ์

ที่มา        
  อัชรา เอิบสุขสิริ.(2556).จิตวิทยาสำหรับครู.กรุงเทพ:บริษัท วี.พริ้น(1991) จำกัด.
  บ้านจอมยุทธ.[online]              
        http://www.baanjomyut.com/library_2/psychology_of_learning/01.html.จิตวิทยาการ
        เรียนรู้
 ความหมายของการเรียนรู้.
สืบค้นเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2558.
  ไพลิน สุทธิเชษฐ์.[online] https://www.l3nr.org/posts/478955. การเรียนรู้ตามทฤษฎีของ
        บรูเนอร์ (Bruner).
สืบค้นเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2558.